วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551

วัตถุดิบที่ใช้ประกอบการทำขนมไทย

วัตถุดิบที่ใช้ประกอบการทำขนมไทย

ขนมหวานไทย มีรสหวานเป็นหลัก บางชนิดก็มีรสหวานจัด บางชนิดก็มีรสหวานอ่อน ๆ วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบขนมหวานไทย ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยน้ำตาล แป้ง กะทิ เป็นหลัก
1. น้ำตาล
ชนิดของน้ำตาลที่ใช้ในการประกอบอาหารมีหลายลักษณะ ความสำคัญของน้ำตาลกับขนมหวานโดยคือ
ทำให้อาหารมีรสหวาน เช่น เพิ่มความอร่อย ทำให้แป้งนุ่น อาหารอร่อยใสขึ้น ตกแต่งให้อาหารสวยงาม เคลือบไม่ให้อาหารแห้ง ทำให้อาหารมีสีสวย มีกลิ่นหอม น้ำตาลที่ใช้ในการประกอบขนมหวานไทย คือ

1.1 น้ำตาลทราย เป็นน้ำตาลที่เป็นผลึก ทำจากอ้อย น้ำตาลทรายจะมีสองสี สีขาว คือน้ำตาลที่ถูกฟอกจนมีสีขาวและแข็งสะอาดละลายน้ำยาก ส่วนน้ำตาลทรายสีแดง คือน้ำตาลทรายที่ไม่ได้ฟอกให้ขาวจึงมีกลิ่นหอม จะมีเกลือแร่ และวิตามินเหลืออยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะไม่นิยมใช้น้ำตาลทรายแดง ยิ่งสีเข้ม แสดงว่ามีสารอื่นป่นอยู่มาก ส่วนใหญ่จะไม่นิยมใช้น้ำตาลทรายแดงทำขนมหวาน นอกจากขนมบางอย่าง เพื่อให้การทำอาหารสะดวกขึ้น น้ำตาลทรายออกมาขายในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการใช้ เช่น น้ำตาลไอซิ่ง ได้จากน้ำตาลทรายขาวธรรมดา นำมาบดให้ละเอียดอ่อน เอาเฉพาะส่วนที่ป่นละเอียดเหมือนแป้ง ใส่แป้งข้าวโพดหรือแป้งมันมันลงไป 3 เปอร์เซนต์ เพื่อกันไม่ให้น้ำตาลจับกันเป็นก้อน
น้ำตาลป่น คือน้ำตาลทรายธรรมดาที่เอามาป่นให้ละเอียด แต่ไม่เท่ากับน้ำตาลไอซิ่ง การป่นน้ำตาลเพื่อให้ผสมเข้ากับเครื่องปรุงได้ง่าย

1.2 น้ำตาลไม่ตกผลึก(น้ำตาลปีบ)
ได้แก่ น้ำตาลโตนด น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลทั้งสองชนิดนี้ นิยมทำขนมหวานไทย เช่น แกงบวด ขนมหม้อแกงสังขยา ฯลฯ เป็นต้น เพราะให้ความหอมหรือเคี่ยวทำน้ำเชื่อมชนิดข้นไว้หยอดหน้าขนม โดยบางชนิด เช่น ขนมเหนียว ขนมนางเล็ด ฯลฯ

1.3 น้ำเชื่อม
ในการทำขนมหวานไทย เราจะทำน้ำเชื่อมเองไม่นิยมชื้อน้ำเชื่อมเป็นขวดมาใช้ จะเริ่มต้นตั้งแต่ละลายน้ำตาลกับน้ำ ตั้งไฟเคี่ยวให้เดือด การทำน้ำเชื่อมให้ขาว คือฟอกสีน้ำตาล โดยใช้เปลือกไข่ฟอกกับน้ำตาลตั้งไฟพอละลายแล้วกรองนำไปตั้งไฟต่อ เคี่ยวจนได้น้ำเชื่อม เหนียวข้นตามต้องการเพื่อนำมาทำขนมชนิดต่าง ๆ

แป้งที่ใช้ในการประกอบขนมหวานไทย

2.1 แป้งข้าวเจ้า (Riceflour)
เป็นแป้งที่ทำจากเมล็ดข้าวเจ้า มีลักษณะเป็นผงมีสีขาวจับแล้วสากมือเล็กน้อย เมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะขุ่นร่วน ถ้าทิ้งให้เย็นจะอยู่ตัวเป็นก้อน ร่วนไม่เหนียว จึงเหมาะที่จะประกอบอาหาร ที่ต้องการความอยู่ตัวร่วนไม่เหนียวหนืด เช่น ขนมขี้หนู ขนมกล้วย เส้นขนมจีน ฯลฯ สมัยก่อนนิยมโม่กันเอง โดยล้างข้าวสารก่อน แช่ข้าวโดยใส่น้ำให้ท่วมแช่จนข้าวนุ่ม จะโม่ง่าย ในปัจจุบันนิยมบดด้วยเครื่องบดไฟฟ้าบดให้ละเอียดแล้วจึงห่อผ้าขาวบางทับน้ำทิ้งจะได้แป้งข้าวเจ้าเรียกแป้งสด

2.2 แป้งข้าวเหนียว (Glutinous Riceflour)
เป็นแป้งที่ทำมาจากเมล็ดข้าวเหนียว ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว จับแล้วสากมือเล็กน้อย เมื่อนำไปทำให้สุกจะมีลักษณะขุ่นข้น เหนอะหนะ พอแป้งถูกความร้อนจะจับตัวเป็นก้อนค่อนข้างเหนียว เหมาะในการนำมาประกอบอาหารที่ต้องการความเหนียวเกาะตัว เช่น ขนมเทียน ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ฯลฯ

2.3 แป้งมันสำปะหลัง (Cassave Starch)
ทำมาจากหัวมันสำปะหลัง มีลักษณะเป็นผงสีขาว จับผิวสัมผัสของแป้งจะเนียน ลื่นมือ เมื่อทำให้สุกจะเหลวเหนียวหนืดและใช้ เมื่อพักให้เย็นจะมีลักษณะเหนียวเหนอะหนะคงตัว นิยมนำมาผสมกับอาหารที่ต้องการความเหนียวหนืดและใส เช่น ทับทิมกรอบ เต้าส่วน ฯลฯ ในการทำขนมหวานไทยนิยมนำแป้งมันสำปะหลังมาผสมกับแป้งชนิดอื่น ๆ เพื่อให้ขนมมีความเหนียวนุ่มกว่าการใช้แป้งชนิดเดียว เช่น ขนมชั้น ขนมฟักทอง ขนมกล้วย ฯลฯ

2.4 แป้งข้าวโพด (Corn Starch)
เป็นแป้งที่สกัดมาจากเมล็ดข้าวโพด มีลักษณะเป็นผงสีขาวเหลืองนวลจับแล้วผิวสัมผัสของแป้งเนียนลื่นมือเมื่อทำให้สุก จะมีลักษณะข้นและใสไม่คืนตัวง่าย เมื่อเป็นตัวแป้งจะอยู่ตัวจับเป็นก่อนแข็งร่วนเป็นมันวาว ในขนมหวานไทย นิยมนำมาผสมกับอาหารเพื่อต้องการความข้นอยู่ตัว เมื่อสัมผัสดูเนื้อแป้งเนียนละเอียดลื่น

2.5 แป้งถั่วเขียว (Mung bean Starch)
เป็นแป้งที่สกัดมาจากถั่วเขียว เมล็ดแห้งมีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ จับผิวสัมผัสแล้วจะสากมือ ก่อนใช้ควรนำมาบดให้เป็นผงก่อน เมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะข้นค่อนข้างใส เมื่อพักให้เย็นจะจับตัวเป็นก้อนแข็งอยู่ตัวค่อนข้างเหนียว เหมาะในการทำอาหารที่ต้องการความใสอยู่ตัว เช่น ซาหริ่ม ขนมลืมกลืน ฯลฯ

2.6 แป้งท้าวยายม่อม (Arrowroot Starca)
สกัดมาจากหัวมันท้าวยายม่อม มีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ สีขาวเป็นเงา เวลาใช้ต้องบดให้ละเอียดเป็นผงเมื่อนำไปประกอบอาหารจะให้ความข้นเหนียวหนืดและใส เมื่อทำให้เย็นจะเหนียวตัวกว่าแป้งมันสำปะหลัง นิยมนำมาใช้ร่วมกับแป้งชนิดอื่น ๆ เพื่อให้ได้อาหารที่มีความข้นเหนียว เป็นมันวาว เช่น ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้ ฯลฯ

2.7 แป้งสาลี (Wheat Flour)
ทำจากเมล็ดข้าวสาลี ลักษณะเป็นผงมีสีขาวเมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะร่วนเหลว ไม่อยู่ตัวคุณภาพของแป้งสาลีขึ้นอยู่กับปริมาณโปรตีนในเมล็ดขาวสาลี ซึ่งทำให้ได้ลักษณะของขนมต่างกัน แป้งสาลียังแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ตามคุณสมบัติของแป้งคือ

- แป้งสาลีสำหรับทำขนมปัง (Bread Flour) ทำจากข้าวสาลีชนิดหนัก มีปริมาณโปรตีน 12-13เปอร์เซนต์

- แป้งมีสีขาวนวล เมื่อสัมผัสผิวแป้งจะหยาบกว่าแป้งสาลีชนิดอื่น ปริมาณโปรตีนสูง ทำให้แป้งขนมปังสามารถดูดน้ำได้มาก มีความยืดหยุ่น เหนียว เหมาะสำหรับการทำขนมปัง ปาท่องโก๋ (แต่แป้งชนิดนี้ไม่นิยมนำมาขนมหวานไทย ส่วนใหญ่ใช้ทำขนมอบ)
- แป้งสาลีอเนกประสงค์ (All purpose Flour) ทำจากข้าวสาลีชนิดหมัก และชนิดเบาผสมรวมกัน มีโปรตีน 9-10 เปอร์เซนต์ แป้งมีสีขาวนวล ลักษณะหยาบแต่น้อยกว่าแป้งขนมปัง ให้ความเหนียวพอควร แต่คุณภาพจะสู้แป้งขนมปังไม่ได้ ใช้ทำผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น คุกกี้ พาย กรอบเค็ม กะหรี่พัฟ
แป้งสาลีสำหรับทำเค้ก (Care Flour) ทำจากข้าวสาลีชนิดเบา มีปริมาณโปรตีน 6-9 เปอร์เซนต์สีขาวเนื้อแป้งละเอียด เมื่อนำมาผสมน้ำจะดูดซึมน้ำได้น้อยได้ก้อนแป้งที่เหนียวติด คือ เหมาะสำหรับทำขนมสาลี ขนมฝรั่ง ขนมเค้ก ฯลฯ

3. กะทิ
กะทิได้จากมะพร้าว ขนมไทยนิยมใช้กะทิที่คั้นเองจากมะพร้าวขูดใหม่ๆ ถ้าคั้นกะทิจากมะพร้าวที่มีกลิ่นจะทำให้กลิ่นของขนมเสีย ทั้งกลิ่นและรสอาจเปรี้ยว แก้ไขได้ยาก ไม่สามารถจะกลบกลิ่นของกะทิได้ แม้แต่นำไปตั้งไฟกวน มะพร้าวเมื่อซื้อมา ถ้ายังไม่ใช้ ควรเก็บในตู้เย็น หรือต้องคั้นเป็นกะทิทันที และทำให้ร้อนหรือให้สุกก่อนถ้าต้องการเก็บไว้ยังไม่ใช้ทันที การคั้นมะพร้าวเพื่อให้ได้หัวกะทิ จะนวดมะพร้าวก่อนใส่น้ำร้อนหรือน้ำสุกแต่น้อยนวดน้ำในมะพร้าวออกมา จะได้หัวกะทิข้นขาวในการทำขนมหวานโดยต้องการใช้หัวกะทิข้น ๆ เพื่อให้ขนมน่ารับประทาน ผู้ประกอบขนมหวานไทยจึงควรมีความรู้เรื่องการคั้นมะพร้าวให้ได้กะทิที่ข้น

4. กลิ่น
กลิ่นที่ใช้ในการทำขนมหวานไทย แต่ก่อนจะใช้ดอกไม้สดที่มีกลิ่นหอม เช่น ดอกมะลิ กระดังงา ฯลฯ นำมาอบร่ำในน้ำสะอาด เพื่อให้น้ำมีกลิ่นหอม แต่ในปัจจุบันภาวะสิ่งแวดล้อมได้เปลี่ยนไป ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ใช้ยาฆ่าแมลงฉีด เพื่อให้มีความคงทนและนำมาซึ่งอันตรายต่อผู้บริโภค จึงมีกลิ่นวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย เช่น กลิ่นมะลิกลิ่นใบเตย ฯลฯ

5. เกลือ
ในขนมหวานไทย เกลือให้รสเค็มมีบทบาทสำคัญ ทำให้ขนมเกิดรสชาติน่ารับประทานขึ้น เพราะเมื่อนำไปผสมกับกะทิ หรือมะพร้าว

6. สารช่วยให้ขึ้น
ขนมโดยมีความจำเป็นในการใช้สารช่วยขึ้นน้อย วิธีการทำ และส่วนผสม มีส่วนช่วยทำให้ขนมขึ้นโดยธรรมชาติ เช่นการทำปุยฝ้าย ขนมตาล ฯลฯ แต่ปัจจุบันลักษณะดั้งเดิมของขนมหวานไทยในท้องตลาดเปลี่ยนไปเพื่อธุรกิจการค้า หน้าตาขนมจะมีความน่ารับประทานขึ้น โดยอาศัยสารทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้แก่ ผงฟู เพื่อทำให้ขนมขึ้นเร็ว และมีลักษณะน่ารับประทาน

7. สีที่ใช้ตกแต่งอาหาร
ขนมหวานไทยบางอย่างไม่จะเป็นต้องใส่สี ก็ให้ความสวยตามธรรมชาติ เช่น ขนมปุยฝ้ายจะมีสีเหมือนชื่อ แต่ถ้าเป็นขนมที่ต้องมีสีจะใช้สีธรรมชาติ เช่น สีเขียวของใบเตย สีม่วงจากดอกอัญชัน สีเหลืองจากขมิ้น สีแดงของครั่ง ฯลฯ ปัจจุบันได้มีสีผสมอาหารที่สามารถรับประทานได้แล้วไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยใช้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ทำขนมหวานไทยให้ดูน่ารับประทานโดยใช้สีอ่อน ๆ

8. ไข่
ไข่ที่ใช้ในการทำขนมหวานไทย จะใช้ทั้งไข่ไก่และไข่เป็ด การนำไข่มาตีให้ขึ้นฟูมากจะเป็นตัวเก็บฟองอากาศช่วยทำให้ขนมโปร่งฟู การเลือกใช้ไข่ ควรใช้ไข่ที่ใหม่และสด


ความหมายของคำที่ใช้ในการประกอบขนมหวานไทย

ความหมายของคำที่ใช้ในการประกอบขนมหวานไทย
การประกอบขนมหวานไทย มีหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของขนมนั้น ๆ ว่าจะประกอบด้วยวิธีการแบบใดให้ขนมสำเร็จออกมาแล้วน่ารับประทาน ตัวอย่างวิธีการประกอบขนมหวานไทย คือ

1. ต้ม หมายถึง การนำอาหารใส่หม้อ พร้อมกับน้ำหรือกะทิ ตั้งไฟให้เดือดจนสุกตามความต้องการ การทำขนมที่ต้องต้ม และเป็นขนมที่ใช้ใบตองห่อ ต้องห่อให้สนิท ใบตองต้องไม่แตก เช่น ข้าวต้ม น้ำวุ้น แกงบวด ถั่วเขียวน้ำตาล ฯลฯ

2. หุง หมายถึง การทำอาหารที่ให้สุก โดยนำของที่ต้องการหุงใส่ลงในหม้อพร้อมกับน้ำ ตั้งไฟจนน้ำแห้ง จึงลดไฟให้อ่อนลง แล้วดงให้แห้งสนิท

3. นึ่ง หมายถึง การทำอาหารให้สุก โดยใช้ไอน้ำ โดยใส่ขนมลงในลังถึง ปิดฝาตั้งไฟให้น้ำเดือดนึ่งจนขนมสุก ส่วนมากจะเป็นขนมที่มีไข่ เป็นส่วนผสม เช่น ขนมสาลี ขนมทราย ขนมชั้น ขนมสอดไส้ ฯลฯ การใช้เวลานึ่งและความร้อนต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของขนมนั้น ๆ
4. ทอด หมายถึง การทำอาหารให้สุกด้วยน้ำมัน โดยใส่น้ำมันลงในกระทะ ตั้งไฟให้ร้อนทั่วแล้ว จึงจะใส่ขนมที่จะทอดลงไป ขนมบางชนิดใช้น้ำมันมาก เรียกว่า ทอดน้ำมันลอย ใช้ไฟปานกลางสม่ำเสมอ บางชนิดใช้น้ำมันน้อย ใช้กระทะก้นตื้น ดังนั้นการทอดจึงใช้กระทะตามลักษณะของขนมแต่ละชนิด การทอดถ้าใช้ไฟอ่อนมาก ขนมจะอมน้ำมัน จึงควรจะระมัดระวังด้วย ขนมที่ทอด เช่น ขนมฝักบัว ขนมทองพลุ ข้าวเม่าทอด ฯลฯ

5. จี่ คือ การทำขนมให้สุกในกระทะโดยใช้น้ำมันแต่น้อย ใช้น้ำมันทากระทะพอลื่น กระทะที่ใช้จะเป็นกระทะเหล็กหล่อแบน กว้าง เนื้อเหล็กหนา การจี่ใช้ไฟอ่อน ตั้งกระทะให้ความร้อนรุมอยู่ตลอดเวลา และกลับขนมให้เหลืองเสมอกันทั้งสองด้าน เช่น ขนมแป้งจี่

7. ปิ้ง หมายถึง การทำอาหารให้สุก โดยการวางขนมที่ต้องการปิ้งไว้เหนือไฟ มีตะแกรงรองรับไฟไม่ต้องแรงนัก กลับไปกลับมาจนขนมสุก อาหารบางชนิดใช้ใบตองห่อ แล้วปิ้งจนใบตองที่ห่อเกรียบหรือกรอบ เช่น ขนมจาก ข้าวเหนียวปิ้ง ก่อนที่จะปิ้งใช้ขี้เถ้ากลบไว้เพื่อให้ไฟร้อนสม่ำเสมอกัน

8. ผิงและอบ ขนมที่ใช้ผิงมีหลายชนิด จะใช้ผิงด้วยไฟบน และไฟล่าง ไฟจะต้องมีลักษณะอ่อนเสมอกันปัจจุบันใช้เตาอบแทนการผิง เช่น ขนมหม้อแกง ขนมสาลี่กรอบ ขนมผิง ฯลฯ

9. กวน เริ่มต้นกวนตั้งแต่ขนม ยังเป็นของเหลว ในขณะที่ขนมยังเหลว ส่วนที่ควรระมัดระวังเวลากวน คือก้นกระทะต้องหมั่นใช้ไม้พายขูดกลับไปกลับมา เพื่อไม่ให้ส่วนผสมติดก้นกระทะ ระยะขนมรวมตัวกันแล้ว ให้คนไปทางเดียวกัน ต้องคอยระวังก้นกระทะ ขนมจะไหม้หากกวนไม่ทั่ว ไม่ควรปล่อยให้ขนมจับปากกระทะ หมั่นขูดอยู่เสมอ พายที่ใช้ควรมีขนาดพอเหมาะ กับส่วนผสมในกระทะ และความถนัดในการใช้ เช่น ถั่วกวน เผือกกวน กล้วยกวน

10. คลุก คือ การผสมของตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป ให้เข้ากัน เช่น ข้าวเม่าคลุก การคลุกควรใช้ช้อนส้อม พายไม้ คลุกเบาๆ พอให้ขนมรวมกัน และมีรสเสมอกัน

11. ตีไข่ คือ การทำไข่ให้ขึ้น มีหลายขนาด การตีไข่ให้ได้ผล ควรตีให้มีจังหวะสม่ำเสมอ ไม่หยุดมือจนกว่าไข่จะขึ้นฟู และอยู่ตัวตามต้องการ ถ้าตีแล้วหยุดบ่อย ๆ จะทำให้ไข่เสียได้
12. คน หมายถึง การคนขนมที่ประกอบด้วยเครื่องปรุงที่เป็นแป้ง ส่วนผสมชนิดอื่น ๆ จะกวนหรือนึ่ง ควรได้มีการคนเสียก่อน เพื่อให้แป้งรวมตัวกับส่วนผสมอื่น แล้วจึงตักใส่ภาชนะนึ่ง หรือใส่กระทะกวน

13. คั่ว หมายถึง การทำให้สุก โดยใช้อาหารลงในกระทะ แล้วใช้ตะหลิวเขี่ยวัตถุนั้น ๆ ให้กลับไปกลับมา เช่น คั่วงา ไฟที่ใช้ในการคั่ว ไม่ควรใช้ไฟแรง จะทำให้อาหารไหม้

14. แซะ คือ การทำให้วัตถุที่ติดอยู่กับภาชนะหลุดออกจากภาชนะ โดยใช้เครื่องมือที่มีลักษณะปากแบน ปลายคม เช่น แซะขนมเบื้อง ค่อย ๆ แซะแผ่นแป้งให้หลุดจากกระทะ โดยแซะไปรอบ ๆ ขนม

15. ละเลงคือ การกระจายของเหลวให้แผ่ออกเป็นวงกว้าง เช่น ละเลงขนมเบื้อง โดยจะใช้กระจ่าที่ทำด้วยกะลามะพร้าวแบน ๆ มีด้ามถือ ตักแป้งที่มีลักษณะเหลว หยดลงในกระทะ ใช้กระจ่าวางลงตรงกลางแป้ง ใช้มือกดให้วนไปโดยรอบ จนแป้งจับกระทะเป็นแผ่นตามต้องการ
16. ยี คือ การทำให้วัตถุที่จับเป็นก้อนก่อนกระจายออกจากกัน เช่น การยีแป้งขนมขี้หนู หลังจากการใส่น้ำเชื่อม จนแป้งระอุ และอิ่มน้ำเชื่อมแล้ว ต้องทำขนมให้ฟู โดยการยีเบา ๆ มือ ให้แป้งกระจายออกจากกัน จนเนื้อละเอียด

17. ร่อนคือ การแยกวัตถุที่มีเนื้อหยาบ ออกจากส่วนละเอียดหรือเกี่ยวกับการทำขนมเช่น ขนมละอองลำเจียก ใช้แป้งข้าวเหนียวที่นวดกับหัวกะทิหมาด ๆ ใส่แร่งร่อนในกระทะให้จับเป็นแผ่น บรรจุไส้ม้วนให้สวย

ขนมไทยของขวัญนานาเทศกาล

ขนมไทยของขวัญนานาเทศกาล

ขนมไทย มีมากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นขนมไทยแบบโบราณ และขนมที่รับมาจากต่างประเทศจนกลืนเป็น ขนมของไทย ด้วยความช่างประดิดประดอย คิดค้นและวิวัฒนาการของคนไทย ทำให้ ขนมไทย โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะและมีคุณค่าในตัวเอง ปัจจุบันคนไทยหันมานิยมใช้ ขนมไทย เป็นของขวัญของฝากในนานาเทศกาลไม่ว่าจะเป็น วันขึ้นปีใหม่ไทยหรือสากล วันคล้ายวันเกิด วันขึ้นบ้านใหม่ วันเกษียณอายุราชการ ฯลฯ ขนมไทยกับความหมายให้เลือกใช้ตามเทศกาล
- ขนมชั้น - ความเจริญก้าวหน้าในขั้น เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนชั้น
- ขนมจ่ามงกุฎ - ความเจริญก้าวหน้า เป็นหัวหน้า เลื่อนยศ
- ขนมถ้วยฟู - ความเจริญฟูเฟื่อง รุ่งเรือง
- ขนมตาล - ความหวานชื่น ราบรื่นของชีวิต
- ขนมทองเอก - ความเป็นหนึ่ง
- ขนมลูกชุบ - ความน่ารักน่าเอ็นดู มักใช้กับผู้ใหญ่ให้กับผู้น้อย
- ข้าวเหนียวแก้ว - ความดีประเสริฐ ดุจดังแก้ว
- ขนมเสน่ห์จันทร์ - ความมีเสน่ห์ดุจจันทร์วันเพ็ญ ฯลฯ
ที่สำคัญหากเป็นขนมที่ทำขึ้นเอง รสอร่อย สวยงาม ซึ่งแสดงถึงความตั้งใจจริงของผู้ให้ พร้อมบัตรคำอวยพรที่มีความหมายคล้องจองกับขนมที่ให้จะประทับใจทั้งผู้ให้และผู้รับ


ขนมไทยสู่ตลาดโลก

ขนมไทยสู่ตลาดโลก
ปัจจุบัน ขนมไทย ก้าวไกลสู่ตลาดนานาประเทศทั่วโลกสามารถทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทยของเราอีกทางหนึ่ง เช่น ขนมไทย จาก บ้านขนมไทยนพวรรณ ของอาจารย์นพวรรณ จงสุขสันติกุล
เมื่อพูดถึงขนมไทย หลายคนอาจนึกถึงความหวานมันของกะทิ และความหวานของน้ำตาล ซึ่งมีผลต่อสุขภาพมากมาย แต่ถ้าพูดถึง ขนมไทยเพื่อสุขภาพ หลายคนอาจสงสัยว่า ความหวานกับความมัน จะดีต่อสุขภาพได้อย่างไร? แต่อาจารย์นพวรรณทำได้ โดยพัฒนา รูปแบบ และดัดแปลงความหวาน ด้วยการใช้ ความหวานจากผลไม้ ส่วน ความมันกะทิ ก็ลดปริมาณลงแล้วใส่ข้าวบาร์เลย์แทนหรือการนำ พืชผัก และสมุนไพร มาเป็นส่วนผสมด้วย เช่น ดอกอัญชันแทน สีน้ำเงิน ดอกคำฝอยแทน สีแดง ใบเตยแทน สีเขียว หรือ ใส่งาดำ เพิ่มคุณค่าอาหาร ทำให้เกิด ขนมไทย รูปแบบใหม่ ที่มีความอร่อยลงตัว และ ส่งผลดีต่อสุขภาพได้ด้วย บ้านขนมไทยนพวรรณ มีขนมให้เลือกมากมายกว่า ๑๐๐ ชนิด ด้วยการผลิตที่สดใหม่ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำชื่อเสียงให้กับบ้านขนมไทย เน้นการจัดตกแต่งและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทย ทำให้ขนมไทยนพวรรณ มีชื่อเสียงและขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศในรูปแบบแฟรนไชส์ ที่มีมาตรฐานและคุณภาพ ช่วยให้ท่านสามารถเลือกใช้ขนมไทยในโอกาสพิเศษ เช่น งานเลี้ยงต่างๆ หรือการประชุม หรือเป็นของขวัญของฝากผู้ใหญ่ ญาติสนิทมิตรสหายได้ทุกเทศกาล หรือจะทำเป็นธุรกิจ SME ส่วนตัว ก็สามารถทำ

ขนมไทยในพิธีกรรม

ขนมไทยในพิธีกรรม
ขนมที่นิยมใช้ทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคลหรือพิธีกรรมที่ขาดไม่ได้ ได้แก่ ขนมตระกูลทอง เช่น ทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และ
ขนมมงคลนาม เช่น ขนมถ้วยฟู ขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฎ ขนมเสน่ห์จันทร์

ขนมไทยในพิธีกรรมต่างๆ มีดังนี้
พิธีแต่งงาน นอกจากจะมีขนมมงคลนามที่ใช้ในงานมงคลแล้ว ที่ต้องมีคือ
- ขนมกง รูปร่างเป็นล้อรถไม่มีรอยต่อ มีความเชื่อว่าจะทำให้ความรักของคู่บ่าวสาวจีรัง ไม่มีวันแยกจากกัน
- ขนมโพรงแสม มีรูปร่างยาวใหญ่คล้ายกับเสาเรือน ทำให้อยู่กันยืนยาว
- ขนมสามเกลอ มีลักษณะเป็นสามก้อนติดกัน ให้คู่บ่าวสาวเสี่ยงทายว่าจะอยู่ด้วยกันได้นานหรือไม่ หากขนมแยกจากกันก็ถือว่าไม่ใช่เนื้อคู่ที่แท้จริง นอกจากนี้ยังมี
- ขนมใส่ไส้
- ขนมฝักบัว
- ขนมบ้าบิ่น
- ขนมนมสาว อีกด้วย

พิธีบวงสรวงสังเวยเทพยดาและพระภูมิ นิยมใช้ขนมที่เป็นมงคลนามแล้ว ก็มีขนมตามความเชื่อ ในลัทธิพราหมณ์ ดังนี้
- ขนมต้มแดง
- ขนมต้มขาว
- ขนมเล็บมือนาง
- ขนมคันหลาว
- ขนมดอกจอก
- ขนมทองหยิบ
- ขนมถั่วแปบ
- ขนมหูช้าง
- ข้าวเหนียวแดง
- ขนมประเภทบวชต่างๆ

ขนมไทยในวิถีไทย

ขนมไทยในวิถีไทย
วิถีชีวิตของคนไทยนั้นเป็นสังคมเกษตรที่มีผลิตผลทางธรรมชาติอยู่มากมาย เช่น กล้วย อ้อย มะม่วง รวมไปถึงข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ฯลฯ ที่สามารถปรุงเป็น ขนม ได้มากมายหลายชนิด เช่น อยากได้ กะทิ ก็เก็บมะพร้าวมาขูดคั้นน้ำกะทิ อยากได้ แป้งก็นำข้าวมาโม่เป็นแป้งทำขนมอร่อยๆ เช่น บัวลอย กินกันเองในครอบครัว
ขนมไทยถูกนำไปใช้ในงานบุญตามประเพณีและงานพิธีกรรม ที่เกี่ยวข้องในวิถีชีวิตชาวไทย โดยนิยมทำขนมชื่อมีมงคล ได้แก่ ขนมตระกูลทองทั้งหลาย เพราะคนไทยถือว่า "ทอง" เป็น ของดีมีมงคลทำแล้วได้มีบุญกุศล มีเงินมีทอง มีลาภยศ สรรเสริญ สมชื่อขนมนั่นเอง
ขนมไทยในงานประเพณี ที่นิยมใช้ในงานประเพณีต่างๆ มีดังนี้
เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย จะใช้ขนมที่เป็นมงคลนาม จัดเป็นขนมชั้นดีใช้ในการทำบุญเลี้ยงพระ แล้วก็เตรียมขนมสำหรับรับรองแขกเหรื่อ ที่มารดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ สมัยโบราณจะกวนกะละแมแต่ปัจจุบันอาจใช้ขนมอื่นๆ ที่อร่อยและสวยงาม เช่น ขนมชั้น ขนมลูกชุบ ตามความสะดวก
เทศกาลเข้าพรรษา (แรม ๑ ค่ำเดือน ๘) ขนมไทยที่ใช้ได้แก่ ข้าวต้มมัดและขนมแกงบวดต่างๆ เช่น ฟักทองแกงบวด กล้วยบวชชี เป็นต้น
เทศกาลออกพรรษา มีพิธีทำบุญตักบาตรเทโว ขนมที่ใช้ในการทำบุญ คือข้าวต้มลูกโยน
สารทไทย เป็นงานประเพณีที่ชาวไทยทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรผู้ล่วงลับ จะมีขนมไทยประจำภาค อาทิ
ภาคเหนือ : กล้วยตาก เพราะมีกล้วยมาก นอกจากตากก็มีกวนและของแช่อิ่ม
ภาคกลาง : กระยาสารท เคียงคู่กับกล้วยไข่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เรียกว่า งานบุญข้าวจี่ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมเทียน ข้าวจี่
ภาคใต้ : เรียกว่างานบุญเดือนสิบ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมลา ขนมกง ขนมพอง

ขนมไทย

ขนมไทยๆจ้า
ขนมไทย หัตถกรรมความอร่อยที่แสดงออกถึงความอ่อนช้อยของความเป็นไทย ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลที่ก่อกำเนิดภูมิปัญญาไทยหลากหลายอย่างให้สืบสานต่อทั้งวิถีชีวิตประเพณี วัฒนธรรม ที่สามารถนำวัสดุมีอยู่ในท้องถิ่นมาปรุงแต่งเป็นของหวานได้มากหลายรูปแบบ จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคนไทยมีลักษณะนิสัยอย่างไร เพราะขนมแต่ละชนิดล้วน มีเสน่ห์ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจงในรูปลักษณ์ ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ วิธีการทำที่กลมกลืน ความพิถีพิถัน สีที่ให้ความสวยงาม มีกลิ่นหอม รสชาติของขนมที่ละเมียดละไมชวนให้รับประทาน แสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝีมือเชิงศิลปะ
คำว่า "ขนม" เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่มาผสมกันคือ "ข้าวหนม" และ "ข้าวนม" เข้าใจว่าเป็นข้าวผสมน้ำอ้อย น้ำตาล โดยอนุโลมคำว่าหนม แปลว่า หวาน ข้าวหนม ก็แปลว่า ข้าวหวาน เรียกสั้นๆ เร็วๆ ก็กลายเป็น ขนม ไป ส่วนที่ว่ามาจากข้าวนม (ข้าวเคล้านม) นั้นดูจะเป็นตำนานแขกโบราณ อย่างข้าวมธุปายาส (ที่นางสุชาดาทำถวายพระพุทธเจ้าเมื่อตอนตรัสรู้ก็ว่าเป็นข้าวหุงกับนม)
คำว่า ขนม มีใช้มาหลายร้อยปียากจะสันนิฐานแน่นอนได้ เช่นเดียวกับไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่า "ขนมไทย" เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยใดเป็นครั้งแรก แต่ตามประวัติศาสตร์ไทยมีหลักฐานตอนหนึ่งว่า มีการจารึกชื่อขนมในแท่งศิลาจารึก เป็นการจารึกแบบลายแทงสมัยโบราณ ขนมที่ปรากฏคือ "ไข่กบ นกปล่อย บัวลอย อ้ายตื้อ" ถามผู้ใหญ่ดูถึงได้รู้ว่า ไข่กบ หมายถึง เม็ดแมงลัก นกปล่อย หมายถึง ลอดช่อง บัวลอย หมายถึง ข้าวตอก อ้ายตื้อ หมายถึง ข้าวเหนียว ขนมทั้งสี่ใช้น้ำกระสายอย่างเดียวกันคือ "น้ำกะทิ" โดยใช้ถ้วยใส่ขนม ซึ่งเราเรียกการเลี้ยงขนม ๔ อย่างนี้ว่า "ประเพณี ๔ ถ้วย"
ขนมประเภทที่ใช้ข้าว (แป้ง) น้ำตาล มะพร้าว คงจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะมีการติดต่อกับต่างประเทศ กล่าวว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีท่านผู้หญิงของเจ้าพระยาวิชาเยนชร์บรรดาศักดิ์ "ท้าวทองกีบม้า" ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับชาวพนักงานของหวาน ได้ประดิษฐ์คิดค้นขนมตระกูลทองเพราะมีไข่ผสมคือ ทองหยิบ ทองหยอด ทองพลุ ฝอยทอง ทองโปร่ง เป็นต้น

ประวัติขนมไทย


ประวัติขนมไทย
สมัยสุโขทัย ขนมไทยมีที่มาคู่กับชนชาติไทย จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศคือ จีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย มีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย
สมัยอยุธยา เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า"








วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

เคล็ดไม่ลับกับแกงส้ม

วิธีทำแกงส้มให้อร่อยเริด
นอกจากตัวน้ำพริกแกง ที่มีความสำคัญแล้ว ขั้นตอนการปรุง และสัดส่วน ระหว่างน้ำแกงกับผัก ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ในอันที่จะทำให้แกงส้มได้อร่อย เริ่มตั้งแต่ตั้งน้ำในหม้อ ต้องให้น้ำเดือดก่อนถึงใส่พริกแกง (น้ำแกงจะได้หอม) หลังจากใส่น้ำพริกแกง ลงไปแล้วให้ใช้ไฟกลาง ให้น้ำพริกแกงเดือดสักครู่ใหญ่ ถ้ารีบใส่ผักกับเครื่องอื่น ๆ ลงไป จะได้แกงส้มที่มี รสเผ็ดแบบแผด ๆ ไม่กลมกล่อม

หลังจากเคี่ยวน้ำพริกแกงสักครู่แล้ว จึงใส่ผักลงต้มจนผักสุกนุ่ม จึงใส่เนื้อปลาหรือกุ้ง ยกเว้น กรณีแกงส้มผักกระเฉด ให้ใส่ปลาปรุงรส รอจนน้ำเดือด จึงใส่ผักกระเฉดเป็นอันดับสุดท้าย แล้วปิดเตาทันที เพราะผักกระเฉด หากถูกความร้อนนานจะเหนียว ทานไม่อร่อย

แกงส้มปลา ความใช้ปลาที่สดใหม่ ยังไม่แช่เย็น จะได้เนื้อปลาที่นุ่ม อร่อย ไม่ยุ่ย ถ้ากลัวว่าแกงแล้วจะคาว ให้นำปลาหั่นเป็นชิ้นตามต้องการ นำไปลวกครั้งหนึ่งก่อน แล้วค่อยนำไปแกง แต่ถ้าปลาไม่ค่อยสด หรือเป็นปลาแช่เย็น แนะนำให้นำไปทอดก่อน ให้พอเหลือง แล้วค่อยนำมาแกงจะดีกว่า

เคล็ดลับสุดยอด ถ้าอยากได้แกงส้มที่มีน้ำเข้มข้น ให้ผสมเนื้อปลา ลงในน้ำพริกแกงก่อนนำไปแกง มีวิธีการตามนี้นะคะ นำเนื้อปลาที่จะใช้ แบ่งออกมาเล็กน้อย นำไปต้มจนสุก จากนั้นแยกก้างออก นำไปโขลกในครกให้เนื้อปลาแตก จากนั้น ใส่น้ำพริกแกงส้ม ที่เตรียมไว้ลงไปโขลกรวม แล้วจึงนำไปแกง ตามขั้นตอนปรกติ จะได้น้ำแกง ของแกงสัมที่เข้มข้นขึ้น

หมายเหตุ บล็อกโดนลบ



สำหรับเด็กๆเบื่ออาหารจ้า

ไข่ตุ๋นปูอัด
ใครที่มีเด็กอยู่ในบ้าน อาจจะเคยพบกับปัญหานี้ เด็กเบื่ออาหาร อะไรอะไร ก็ไม่อร่อย ถ้าใช่ เราขอแนะนำ เมนูอาหารสำหรับเด็ก ไข่ตุ๋นปูอัด ทำง่าย แต่อร่อยล้ำ ก็ ลองเอาไปทำทานกันดูนะ

เครื่องปรุง
1. ไข่ไก่(เบอร์ 1) 3 ฟอง 2. น้ำเปล่า 3. ปูอัด 3-4 แท่ง(หั่นแทยง) 4. แครอทหั่นลูกเต๋าเล็ก 2 ช้อนโต๊ะ หั่นแท่งเล็กน้อย 5. ต้นหอมซอย เล็กน้อย 6. ซิอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ 7. ซอสปรุงรส 2 ช้อนชา 8. น้ำปลา 1/2 ช้อนโต๊ะ

1. ใส่น้ำในลังถึง จากนั้นนำลังถึงตั้งไฟ ระหว่างรอน้ำเดือด ตอกไข่ใส่ชาม ใช้ซ่อมตีไข่ให้ไข่แดงและไข่ขาวเข้ากัน ปรุงรสด้วย ซิอิ๊วขาว ซอสปรุงรส และน้ำปลา จากนั้นค่อยๆ เติมน้ำเปล่าลงไป คนให้เข้ากัน ใส่ปูอัดและแครอท ที่หั่นเตรียมไว้ส่วนหนึ่งลงในชาม แบ่งไว้ส่วนหนึ่ง เอาไว้แต่งหน้า จากภาพจะเห็นแครอทลอยอยู่บนไข่ ส่วนปูอัดจะจมอยู่ด้านล่าง

2. พอน้ำเดือด นำชามไข่ที่เตรียมไว้ ใส่ในลังถึงปิดฝา ใช้ไฟปานกลาง นึ่งประมาณ 20 นาที เมื่อไข่สุกจะได้ไข่ตุ๋นหน้าตาประมาณในภาพ ถึงขั้นตอนนี้อาจจะยังไม่ต้องให้ไข่สุก ทั้ง 100 % ก็ได้ค่ะ เพราะเดี๋ยวต้องแต่งหน้าแล้วนึ่งต่ออีก เอาเป็นว่าให้เกือบสุกก็แล้วกัน

เวลาที่ใช้ในการนึ่งจะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับไข่ว่าเป็นไข่ที่ออกจากตู้เย็นหรือเปล่า และไฟที่ใช้บางทีอาจจะไม่เท่ากัน แต่ที่สำคัญ เวลาใส่ชามไข่ในลังถึง ต้องรอให้น้ำเดือดก่อนค่ะ


3. แต่งหน้าไข่ตุ๋นด้วย ปูอัด โรยแครอทแบบแท่ง ต้นหอมหั่นฝอย จากนั้นปิดฝาลังถึง นึ่งต่อประมาณ 2-3 นาที ให้ปูอัดและผักสุก ยกเสิร์พ ทานร้อนๆ อร่อยมากขอบอก
วิธีทดสอบว่าไข่สุกแล้วหรือยัง ให้ใช้ช้อนหรือซ่อมแทงลงไปที่เนื้อไข่ จิ้มลงไปเบาๆ ก็พอนะคะ ไม่ใช่กวนไข่ ถ้าไข่สุกเนื้อไข่จะเกาะกันดี หากเป็นน้ำสีไข่ดิบไหลขึ้นมา ก็แสดงว่าอาจจะยังสุกไม่ทั่วดี ปิดฝานึ่งต่ออีกหน่อย
หมายเหตุ บล็อกโดนลบ

มีเรื่องเล่ามาฝาก


เรื่องเล่าเล็กๆน้อยๆ
ในปัจจุบันคนไทยมีการปรับเปลี่ยนการกินอาหารจากรูปแบบดั้งเดิมมาเป็นอาหารที่ได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกมากขึ้นทำให้สถานการณ์ของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเห็นได้จากปัญหาโภชนาการที่เกิดจากการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องทำให้สมดุลของสารอาหารเสียไปนำไปสู่การเกิดโรคเรื้องรังจากความเสื่อมของร่างกายซี่งกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกเพศและวัยได้แก่โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งบางชนิด สาเหตุหลักคือคนไทยไม่ให้ความสำคัญกับอาหารไทยในชีวิตประจำวันเท่าที่ควรตลอดจนไม่ตระหนักถึงประโยชน์ของอาหารไทยต่อสุขภาพดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและคัดเลือกอาหารไทยที่สมควรส่งเสริมให้เป็นอาหารไทยเพื่อสุขภาพ โดยการพัฒนาจัดปรับตำรับอาหารไทยต่างๆที่มีอยู่ให้เป็นตำรับอ้างอิงโดยคงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยการสัมภาษณ์ผู้ใหญ่ไทยจำนวน 500 คนใน 4 ภูมิภาครวมทั้งกรุงเทพมหานคร เพื่อสำรวจรายชื่ออาหารไทยที่ยังคงได้รับความนิยมร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหารไทยเพื่อให้ได้รายชื่ออาหารไทยที่ควรส่งเสริมจากนั้นจึงนำมาศึกษาตำรับและทำการทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อเป็นตำรับอาหารไทยอ้างอิง สำหรับวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการการศึกษานี้ได้พัฒนาตำรับอาหารไทยทั้งสิ้น 3 ประเภท คืออาหารจานเดียว อาหารว่าง และอาหารร่วมสำรับ จำนวน 21 ตำรับ ที่มีความหลากหลายของรสชาติและวิธีการปรุง ผลจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทยพบว่า อาหารไทยมีความหลากหลายของคุณค่าทางโภชนาการ เช่นพลังงานของอาหารไทยที่มีตั้งแต่พลังงานต่ำไปถึงพลังงานสูงอาหารไทยส่วนใหญ่มีการกระจายตัวของพลังงานที่ได้จากสารอาหารหลักอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจอาหารไทยแต่ละสำรับมีจุดเด่นของตัวเอง ที่สามารถนำมาเลือกบริโภคให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาวะของแต่ละบุคคล อาหารไทยแต่ละชนิดมีพลังงานและไขมันต่ำ ได้แก่ขนมจีน น้ำเงี้ยว ข้าวกับแกงเลียงหรือกับแกงส้มหรือกับต้มยำกุ้ง อาหารไทยที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ขนมจีน น้ำเงี้ยว ขนมจีนน้ำยา ข้าวกับแกงเลียงหรือกับแกงส้มหรือกับห่อหมกปลาช่อนใบยอ อาหารไทยที่มีแคลเซียมปานกลางถึงสูง ได้แก่ ข้าวคลุกกะปิ ผัดไทย ข้าวกับน้ำพริกกะปิปลาทูทอด นอกจากคุณค่าทางโภชนาการของสารอาหารที่จำเป็นแล้วอาหารไทยส่วนใหญ่ยังมีปริมาณใยอาหารอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และมีปริมาณสารอาหารที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ เช่น วิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน นอกจากคุณค่าทางโภชนาการแล้วตำรับอาหารไทยต่างๆที่ทำการศึกษายังประกอบด้วยสารสังเคราะห์จากพืชหลายชนิดที่ได้จากเครื่องปรุงหลัก คือ จากพืชผักสมุนไพรและเครื่องเทศ ผลการศึกษาแสดงแนวทางให้เห็นว่าอาหารไทยเป็นอาหารที่มีศักยภาพสูงในการเป็นอาหารเพื่อสุขภาพจึงควรรณรงค์ให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องกับคนไทยให้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารไทยที่มีต่อสุขภาพขณะเดียวกันควรมีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบและรวบรวมตำรับอาหารไทยให้มีความเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นทั้งตำรับที่ควรที่อนุรักษ์ลักษณะดั้งเดิมของอาหารไทยและตำรับที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวัถุประสงค์ต่างๆ เพื่อผลทางสุขภาพ รวมทั้งการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทของอาหารไทยที่มีต่อสุขภาพ เพื่อเป็นแนวทางการสนับสนุนการบริโภคและส่งออกอาหารไทยสู่ตลาดโลก

หมายเหตุ บล็อกโดนลบ

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

แนะนำเมนูเด็ดกันจ้า


1. รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัวให้เป็นปกติ
2. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าวควรรับประทานเป็นข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือ
3. รับประทานพืชผักผลไม้เป็นประจำ
4. รับประทานปลาและเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
5. รับประทานที่มีไขมันแต่พอควร
6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัด
7. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารถนอม เช่น อาหารหมักดองอาหารกระป๋อง
8. งดหรือลดเครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เมนูเด็ดมาทางนี้

ข้าวยำเป็นอาหารของชาวใต้ รสชาติจะอร่อยมากน้อยขึ้นอยู่กับน้ำบูดู

เครื่องปรุงประกอบด้วย
ข้าวสวย 1 - 2 ถ้วย (150 กรัม)
กุ้งแห้งป่น 3 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม)
มะพร้าวหั่นฝอย คั่วจนเหลืองกรอบ 3 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม)
พริกขี้หนูคั่วป่น 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)

ผัก
ถั่วงอกเด็ดหาง 1/3 ส่วน (25 กรัม)
ตะไคร้หั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
ใบมะกรูดอ่อนหั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
มะม่วงดิบหั่นเส้นเล็ก 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
ถั่วฝักยาวหั่นฝอย 3 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม)
มะนาว1-2 ลูก(50 กรัม)

เครื่องปรุงน้ำบูดู
น้ำบูดู 3 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม)
น้ำ 1 ถ้วยครึ่ง (300 กรัม)
ปลาอินทรีย์เค็ม 1 ชิ้น (10 กรัม)
น้ำตาลปีบ 1 ถ้วย (10 กรัม)
หอมแดงทุบพอแหลก 5 หัว (25 กรัม)
ตะไคร้หั่นท่อนสั้น 2 ต้น (40 กรัม)
ใบมะกรูดฉีก 5 ใบ (10 กรัม)
ข่ายาว 1 นิ้วทุบพอแตก1 ชิ้น (20 กรัม)

วิธีทำ
1. ทำน้ำบูดูโดยการต้มปลาอินทรีย์จนเปื่อย แกะเอาแต่เนื้อใส่
2. ใส่หอม ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูดฉีก น้ำตาลปีบ ต้มต่อจนน้ำบูดูข้น ชิมให้มีรสเค็มหวาน ยกลง
3. จัดเสิร์ฟโดย ตักข้าวใส่จาน ใส่มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น และผักทั้งหมดอยางละน้อย คลุกให้เข้ากัน ราดน้ำบูดู ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว ชิมรสตามชอบ

คุณค่าทางยาสมุนไพรในเครื่องปรุง
1. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ ขับลม บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร
2. ข่า รสเผ็ดปร่า ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดเฟ้อ
3. ใบมะกรูด รสปร่า กลิ่นหอม ช่วยแต่งกลิ่น ดับกลิ่นคาว
4. พริก รสเผ็ด ช่วยขับลม ช่วยย่อย เจริญอาหาร
5. มะนาว รสเปรี้ยว ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการไอ
6. ถั่วฝักยาว รสหวานมัน บำรุงธาตุดิน
7. มะม่วงดิบ รสเปรี้ยว ขับเสมหะ ช่วยระบายท้อง
8. มะพร้าวคั่ว รสหวานมัน ช่วยบำรุงธาตุดิน บำรุงเส้นเอ็น
9. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้ไข้หวัด แก้โรคในปาก บำรุงธาตุ

คุณค่าทางโภชนาการ
ข้าวยำ 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 1,141 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยน้ำ 589.7 กรัม โปรตีน 31.1 กรัม ไขมัน 18.0 กรัม คาร์โบไฮเดรต 217.3 กรัม กาก 11.8 กรัม ใยอาหาร 1.8 กรัม แคลเซียม 191.9 มิลิกรัม ฟอสฟอรัส 363 มิลลิกรัม เหล็ก 200 มิลลิกรัม เรตินอล 13.2 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 65.8 ไมโครกรัม วิตามินเอ 6772.4 IU วิตามินบีหนึ่ง 825.18 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.61 มิลลิกรัม ไนอาชิน 7.77 มิลลิกรัม วิตามินซี 68.80 มิลลิกรัม


เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับทุกภาค


เครื่องปรุง
ปลาช่อน 1 ตัว (300 กรัม)
น้ำ 3 ถ้วย (750 กรัม)
แตงโมอ่อน 1 ลูก (100 กรัม)
ผักบุ้งไทยหั่นพองาม 10 ยอด (100 กรัม)
ถั่วฝักยาวหั่นพองาม 1 ถ้วย (100 กรัม)
ดอกแค 1 ถ้วย (100 กรัม)
น้ำปลา 2-3 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
น้ำส้มมะขาม 1-2 ช่อนโต๊ะ (30 กรัม)

น้ำพริกแกงส้ม
พริกแห้งผ่าเอาเมล็ดออกแช่น้ำ 5 เม็ด (15 กรัม)
หอมแดง 7 หัว (35 กรัม)
กระเทียม 1 หัว (20 กรัม)
กระชาย 1 ช้อนชา (10 กรัม)
กะปิ 1 ช้อนชา (5 กรัม)
เกลือ 1/2 ช้อนชา (5 กรัม)
โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด

วิธีทำ
1. ขอดเกล็ดปลา ควักไส้ออกล้างปลาด้วยน้ำเกลือให้หมดเมือก ตัดท่อนหางยาวประมาณ 3 นิ้ว ที่เหลือตัดเป็นแว่นขนาด 1/2 นิ้ว
2. ต้มน้ำ 3 ถ้วยให้เดือดใส่ปลาท่อนหางต้มให้สุก ตักขึ้น แกะเอาแต่เนื้อปลา โขลกกับเครื่องแกงให้เข้ากัน
3.ละลายน้ำพริกลงในหม้อต้มปลา ตั้งไฟให้เดือดใส่แตงโมอ่อน ผักบุ้ง พอเดือดสักครู่ใส่ถั่วฝักยาว ใส่ดอกแค ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะขามเปียก ชิมให้ออกรสเปรี้ยวเล็กน้อย พอน้ำเดือด อีกครั้งใส่ปลา พอสุก ยกลงเสิร์ฟ (รับประทานได้ 5-6 คน)

คุณค่าทางยาสมุนไพรในเครื่องปรุง
1. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไข้ ขับเสมหะ ช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย ลดระดับไขมันในเลือด
2. กระชาย รสเผ็ดร้อน บำรุงธาตุ ขับลม ช่วยเจริญอาหารแก้ท้องอืดเฟ้อ
3. ดอกแค รสขม แก้ไขหัวลม ช่วยเจริญอาหาร
4. มะขามเปียก รสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยระบาย แก้ท้องผูก
5. ผักบุ้ง รสเย็นจืด บำรุงธาตุไฟ ถอนพิษเบื่อเมา ทำให้อาเจียนเนื่องจากพิษของฝิ่น และสารหนู
6. แตงโมอ่อน รสเย็นจืด แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้ไข้หวัด บำรุงธาตุ ขับลม

คุณค่าทางโภชนาการ
สำหรับ 1 คน
พลังงาน 102.40 กิโลแคลอรี โปรตีน 12.60 กรัม ไขมัน 2.35 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.97 กรัม แคลเซียม 41.85 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 161.35 มิลลิกรัม วิตามิน เอ 75.29 อาร์อี ธาตุเหล็ก 4.77 มิลลิกรัม ในอาหาร 0.9 กรัม (สูตรตำรับจากหนังสือภูมิปัญญาไทย อาหารไทยอาหารสุขภาพ)



แกงแคไก่เป็นอาหารพื้นบ้านภาคเหนือ ประมาณ 7 - 8 คน

เครื่องปรุง

ไก่เอาหนังออกหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ 1/2 ถ้วย (100 กรัม) ผักเผ็ดหรือผักคราดเด็ดสั้น ๆ 2 ถ้วย (100 กรัม)
ชะอมเด็กสั้น 1 ถ้วย (100 กรัม)
ตำลึงเด็ดเป็นใบ 1 ถ้วย (100 กรัม)
ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ 1/2 ถ้วย (50 กรัม)
ใบชะพลู (ผักแค) หั่นหยาบ 1 ถ้วย (100 กรัม)
กะเพราเด็ดเป็นใบ 1/2 ถ้วย (50 กรัม)
ผักขี้หูดเด็ดเฉพาะส่วนที่กินได้ 1/2 ถ้วย (50 กรัม)
มะเขือพวงผ่าครึ่ง 1-2 ถ้วย (100 กรัม)
มะเขือเปราะผ่าครึ่ง 5 ลูก (50 กรัม)
บวบ 2 ลูก (200 กรัม)
ถั่วฝักยาวหั่นสั้น 5 ฝัก (100 กรัม)
หน่อไม่หั่นพอคำ 1/2 ถ้วย (50 กรัม)
น้ำมัน 3 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
น้ำ 4 ถ้วย (1000 กรัม)

เครื่องแกง
พริกแห้ง 8 เม็ด (30 กรัม)
กระเทียม 1-2 หัว (30 กรัม)
ปลาร้า 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
ตะไคร้ 1 ต้น (15 กรัม)
หอมแดง 4 หัว (30 กรัม)
กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
เกลือป่น 1 ช้อนชา (5 กรัม)

วิธีทำ
1. โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
2. ล้างบวบและปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นพอคำ
3. กระทะตั้งไฟให้ร้อน ใส่ไก่เพื่อรวนให้สุกและหอม ตักขึ้นพักไว้
4. ใส่น้ำมันลงในตั้งไฟให้ร้อน ใส่เครื่องแกงที่เตรียมไว้ผัดให้หอม ใส่ไก่ ใส่หน่อไม้ ผัดให้เข้ากัน
5. ใส่น้ำลงในหม้อ ตักเครื่องแกงที่ผัดไว้ลงไป และตั้งไฟให้เดือด ใส่ผัก ถั่วฝักยาว มะเขือพวง

และผักที่เตรียมไว้ในเครื่องปรุง ปรุงรสตามชอบ คนให้เข้ากัน พอสุกแล้วยกลงเสิร์ฟ

คุณค่าทางยาสมุนไพรในเครื่องปรุง
1. ชะอม รากมีสรรพคุณแก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลมในลำไส้ ยอดชะอมช่วยลดความร้อนในร่างกาย
2. ใบชะพลู รสเผ็ด แก้ธาตุพิการ ขับลม
3. ผักขี้หูด รสเผ็ด ถ้าทำให้สุกมีรสหวานมัน บำรุงธาตุดิน ช่วยเจริญอาหาร
4. ตำลึง รสเย็ดจืด แก้ไข้ ดับพิษร้อน ใบสดตำคั้นน้ำแก้พิษแมลงกัดต่อย แก้ปวดแสบปวดร้อน
5. บวบ รสเย็นจืด บำรุงธาตุไฟ แก้ไข้ บำรุงร่างกาย มีธาตุแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัส
6. มะเขือพวง รสขม แก้ไข้ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นการทำงานของลำไส้
7. หน่อไม้ รสขมหวานร้อน รากขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ใบ ขับฟอกล้างโลหิต ระดูที่เสีย
8. กะเพรา รสเผ็ดร้อน บำรุงธาตุ ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ
9. ผักชีฝรั่ง รสเผ็ดร้อน ขับลมช่วยแก้อาการท้องอืดเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร
10. ถั่วฝักยาว รสหวานมัน บำรุงธาตุดิน
11. มะเขือเปราะ รสขมเล็กน้อย กระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยเจริญอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการ
สำหรับ 1 คน
พลังงาน 127.5 กิโลแคลอรี โปรตีน 7.95 กรัม ไขมัน 6.52 กรัม คาร์โบไฮเดรต 9.11 กรัม แคลเซียม 150.1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 129.27 มิลลิกรัม วิตามินเอ 315.69 อาร์อี ธาตุเหล็ก 4.06 มิลลิกรัม ใยอาหาร 3.7 กรัม

หมายเหตุ บล็อกโดนลบ

ขอยกตัวอย่างอาหารไทยที่สะท้อนให้คุณค่าทางโภชนาการ ยาสมุนไพร และทางภูมิปัญญา



ขอยกตัวอย่างอาหารไทยที่สะท้อนให้คุณค่าทางโภชนาการ ยาสมุนไพร และทางภูมิปัญญา ก็เช่น แกงส้ม ดอกแคมีคุณค่าทางอาหาร คือให้พลังงานและไขมันต่ำ ในด้านยาและสมุนไพรไพรคือ แก้ไขหัวลม ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ด้านภูมิปัญญานั้นช่วยส่งเสริมสุขภาพ และขจัดกลิ่นคาวปลาได้โดยใส่ปลาขณะที่น้ำเดือด

แกงเลียง อาหารที่ให้แร่ธาตุจำพวกแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และให้วิตามินเอสูงมาก เหมาะสำหรับกินแก้ ไข้หวัด ช่วยให้แม่ลูกอ่อนมีน้ำนมมาก เหมาะสำหรับทุกวัยโดยเฉพาะหญิงมีครรภ์และแม่ลูกอ่อน เป็นอาหารบำรุง ร่างกาย บำรุงเลือด บำรุงกระดูก และบำรุงตา ราคาถูก ปลอดภัยจากสารพิษ เพราะปรุงจากผักพื้นบ้านเป็นหลัก

ต้มยำ เป็นอาหารที่ให้พลังงานพอเหมาะ ให้โปรตีนสูง แต่ไขมันต่ำ มีเครื่องปรุงสมุนไพรนานาชนิด ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร แก้หวัด ควบคุมกำหนัด และลดความดันโลหิตสูง นอกจากจะมีรสอร่อยเป็นตำรับอาหารสากลที่รู้จักกัน ไปทั่วโลกแล้ว นับเป็นศิลปะการปรุงรส ชั้นเยี่ยมที่ผสมผสานเครื่องเทศพื้นบ้าน และสมุนไพรในครัวเรือน กับอาหาร โปรตีนจากปลา กุ้ง จนได้รสชาติที่กลมกล่อมช่วยเจริญอาหารโดยไม่ต้องกลัวท้องอืดท้องเฟ้อ

สะเดาน้ำปลาหวาน เป็นอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างมาก ให้โปรตีนพอใช้ แต่ให้ไขมันต่ำ ให้คุณค่าอาหารสูงมาก ทั้งแร่ธาตุ แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี 1 และ วิตามินซี ช่วยแก้ไข้หัวลม ให้คุณค่าอาหารสูงมาก ทั้งแร่ธาตุ แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี 1 และวิตามินซี ช่วยแก้ไข้หัวลม บรรเทาความร้อน ช่วยปรับธาตุให้สมดุล ช่วยป้องกันมะเร็ง เป็น อาหารจานประวัติศาสตร์ ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ที่สามารถทำให้สะเดาซึ่งมีรสขม กลายเป็นอาหารที่มีรสอร่อย ช่วยเจริญอาหารเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ปรุงยาให้เป็นอาหาร

ข้าวยำ เป็นอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างมากเช่นกัน ให้โปรตีนแต่ไขมันน้อย เป็นอาหารที่ให้ธาตุ เหล็กสูงมาก และยังให้วิตามินเอ และวิตามินบี 1 สูงเป็นพิเศษ อีกทั้งยังเป็นอาหารบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง และบำรุงเลือด ข้าวยำเป็นอาหารที่มีลักษณะเฉพาะที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมการกินของชาวใต้ ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้คือ น้ำบูดู ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการปรุงแต่งรสอาหารของชาวใต้โดยเฉพาะ เป็นการนำเอาพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านมาเป็น เครื่องปรุงที่มีคุณค่าอาหารสูง เป็นความชาญฉลาดที่นำเอาสมุนไพรพื้นบ้านมาปรุงเป็นยาแต่อยู่ในรูปของอาหาร

ส่วนห่อหมกปลา เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง แต่ให้โปรตีนและไขมันน้อย เป็นอาหารที่ให้ธาตุแคลเซียมสูงเป็นพิเศษ ประกอบด้วยเครื่องปรุงสมุนไพรหลายชนิดที่ช่วยให้มีคุณค่าอาหารสูง สรรพคุณทางยาของห่อหมกปลา ส่วนใหญ่มาจาก เครื่องปรุงสมุนไพร เช่น กระชาย กระเทียม ใบยอ ข่า ตะไคร้ โหระพา พริก รากผักชี ทำให้เป็นอาหารที่บำรุงธาตุ บำรุง กระดูก เจริญอาหาร ขับลม ขับเหงื่อ แก้จุกเสียด ช่วยควบคุมความดันเลือด ทางด้านภูมิปัญญานั้นคือ เป็นการนำเอาเครื่อง ปรุงสมุนไพรหลากรส มารวมกับกะทิ และเนื้อปลากลายเป็นยาในรูปแบบของอาหารที่มีคุณค่าสูงและยังมีศิลปะในการนำ ใบตองมาห่อแทนการใช้ภาชนะ เพิ่มกลิ่นรสร่วมกับใบยออ่อนที่ใช้รอง เป็นการผสมผสานการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ โดยแท้

อาหารจานสุดท้ายที่อยากจะกล่าวถึง คือ แกงป่า เป็นอาหารที่ให้พลังงานและไขมันต่ำ แต่ให้กากและใยอาหารสูงมาก ให้แร่ธาตุและวิตามินสูงเกือบทุกชนิด ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยลดความดันโลหิตสูง ฆ่าพยาธิ และเชื้อแบคทีเรีย แกงป่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด โดยการนำผักพื้นบ้าน และสมุนไพรหลากหลายชนิดมาปรุงอย่างง่าย ๆ แต่ได้รสกลมกล่อม เป็นการปรุงยาให้อยู่ในรูปอาหารที่อร่อย

จะเห็นได้ว่าอาหารไทยมีคุณลักษณะพิเศษ อย่างน้อยสามารถจำแนกตามการใช้ประโยชน์ หรือตามคุณค่าได้ถึง 3 ด้าน คือ ด้านคุณค่าทางอาหารและโภชนาการ ด้านคุณค่าทางยาและสมุนไพร และด้านคุณค่าทางภูมิปัญญาและ ศิลปวัฒนธรรม ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารเลี้ยงประชากรโลกรายใหญ่ เป็นอันดับที่ 5 ของโลก รองจาก อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส อาหารไทยจึงควรมีบทบาทอย่างสูงในสังคมโลก ไม่เพียงแค่ขายอาหารในด้าน คุณค่าโภชนาการ แต่ควรนำจุดเด่นคุณค่าอีก 2 ด้านคือ ด้านคุณค่าทางยา และด้านภูมิปัญญามาเป็นจุดขายเพื่อเพิ่ม มูลค่าและความนิยมให้กับอาหารไทยมากขึ้น
หมายเหตุ บล็อกโดนลบ

มารู้จักเครื่องปรุงที่เป็นสรรพคุณทางยาดีกว่า


อาหารไทยถือว่ามีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษ เนื่องจากประเทศไทยเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ มีอาหารตามธรรมชาติที่มี ลักษณะพิเศษตามภูมิอากาศและภูมิประเทศที่หลากหลายตลอดทั้งปี รวมทั้งคนไทยมีศิลปะอยู่ในสายเลือดอยู่แล้ว จึงแสดงออกซึ่งศิลปวิทยาของตนในรูปแบบการปรุงแต่งและการกินอาหารที่มีลักษณะเฉพาะ ตั้งแต่เรื่องการผสมกลม กลืนในการปรุงแต่งกลิ่น รส ให้กลมกล่อมอร่อยและรสจัดอย่างโดดเด่นเป็นพิเศษ ในเรื่องการจัดรูปแบบและแกะสลัก ตบแต่งสีสันสวยงามวิจิตรบรรจง ในเรื่องการผสมผสานทางคุณค่าอาหารและสรรพคุณทางยาเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ สูงสุดทั้งในแง่การป้องกัน การบำรุงและการรักษา ตลอดจนการใช้อาหารเป็นเครื่องแสดงความผูกพันในหมู่ญาติมิตร และเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคม รวมทั้งการใช้อาหารเป็นสื่อทางความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ

เครื่องปรุงอาหารไทยที่สะท้อนให้เห็นสรรพคุณทางยาและสมุนไพรที่เรากินกันบ่อย ก็เช่น

กะเพรา - ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม ขับเสมหะ บำรุงธาตุ เพิ่มน้ำนมในหญิงหลังคลอด


กระชาย - ช่วยแก้บิด แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องร่วง แก้ไอ บำรุงหัวใจ

ข่า - ช่วยแก้ลมพิษ แก้บิด ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดฟกช้ำ


กระเทียม - ช่วยแก้ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิตสูง ขับลม ขับเสมหะ แก้จุกเสียด ขับพยาธิเส้นด้าย

ตะไคร้ - ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ลดความดันโลหิตสูง

ใบมะกรูด - ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด



หมายเหตุ บล็อกโดนลบ

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

ตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพ


ตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพที่จะนำเสนอมี 3 ตำรับคือ ข้าวยำ ห่อหมกปลา และแกงป่า โดยความเป็นจริงแล้วยังมีตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพอื่นๆ อีกมากที่มีคุณค่าอันยังประโยชน์ใหญ่หลวงต่อสุขภาพ

ข้าวยำ เป็นอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างมาก ให้โปรตีนสูงแต่ไขมันน้อย เป็นอาหารที่ให้ธาตุเหล็กสูงมาก และยังให้วิตามินเอและวิตามินบี 1 สูงเป็นพิเศษ อีกทั้งยังเป็นอาหารบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง และบำรุงโลหิต ข้าวยำเป็นอาหารที่มีลักษณะเฉพาะที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมการกินของชาวใต้ ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้คือ "น้ำบูดู" ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการปรุงแต่งรสอาหารของชาวใต้ โดยเป็นการนำเอาพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านมาเป็นเครื่องปรุงที่มีคุณค่าอาหารสูง และเป็นความชาญฉลาดที่นำเอาสมุนไพรพื้นบ้านมาปรุงเป็นยาแต่อยู่ในรูปของอาหาร


ห่อหมกปลา เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงแต่ให้โปรตีนและไขมันน้อย เป็นอาหารที่ให้ธาตุแคลเซียมสูงเป็นพิเศษ ประกอบด้วย เครื่องปรุงสมุนไพรหลายชนิดที่ช่วยให้มีคุณค่าอาหารสูง สรรพคุณทางยาของห่อหมกปลาส่วนใหญ่มาจากเครื่องปรุงสมุนไพร เช่น กระชาย กระเทียม ใบยอ ข่า ตระไคร้ โหระพา พริก รากผักชี ทำให้เป็นอาหารที่บำรุงธาตุ บำรุงกระดูก เจริญอาหาร ขับลม ขับเหงื่อแก้จุกเสียด ช่วยลดความดันโลหิตสูง ทางด้านภูมิปัญญานั้น คือ เป็นการนำเอาเครื่องปรุงสมุนไพรหลากรสมารวมกับกะทิและเนื้อปลา กลายเป็นยาในรูปแบบของอาหารที่มีคุณค่าสูง และยังมีศิลปะในการนำใบตองมาห่อแทนการใช้ภาชนะ เพิ่มกลิ่นรส ร่วมกับใบยออ่อนที่ใช้รอง เป็นการผสมผสานการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยแท้



แกงป่า เป็นอาหารที่ให้พลังงานและไขมันต่ำ แต่ให้กากและใยอาหารสูงมาก ให้แร่ธาตุและวิตามินสูงเกือบทุกชนิด ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยลดความดันโลหิต ฆ่าพยาธิและเชื้อแบคทีเรีย แกงป่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด โดยการนำผักพื้นบ้านและสมุนไพรหลากหลายชนิดมาปรุงอย่างง่าย ๆ แต่ได้รสกลมกล่อม เป็นการปรุงยาให้อยู่ในรูปอาหารที่อร่อยมาก


จะเห็นได้ว่าอาหารไทยมีคุณลักษณะพิเศษ อย่างน้อยสามารถจำแนกตามการใช้ประโยชน์ หรือตามคุณค่าได้ถึง 3 ด้าน คือ ด้านคุณค่าทางอาหารและโภชนาการ ด้านคุณค่าทางยาและสมุนไพร และด้านคุณค่าทางภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารเลี้ยงประชากรโลกรายใหญ่ เป็นอันดับที่ 5 ของโลก รองจาก อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส อาหารไทยจึงควรมีบทบาทอย่างสูงในสังคมโลก ไม่เพียง แค่ขายอาหารในด้านคุณค่าทางโภชนาการ แต่ควรนำจุดเด่นคุณค่าอีก 2 ด้าน คือ ค้านคุณค่าทางยาและภูมิปัญญามาเป็นจุดขายเพื่อเพิ่มมูลค่าและความนิยมให้กับอาหารไทยมากขึ้น อันจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันบนเวทีการค้าโลกได้อย่างสง่างาม

หมายเหตุ บล็อกโดนลบ



ตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพ


ตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพที่จะนำเสนอมี 3 ตำรับคือ ข้าวยำ ห่อหมกปลา และแกงป่า โดยความเป็นจริงแล้วยังมีตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพอื่นๆ อีกมากที่มีคุณค่าอันยังประโยชน์ใหญ่หลวงต่อสุขภาพ

ข้าวยำ เป็นอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างมาก ให้โปรตีนสูงแต่ไขมันน้อย เป็นอาหารที่ให้ธาตุเหล็กสูงมาก และยังให้วิตามินเอและวิตามินบี 1 สูงเป็นพิเศษ อีกทั้งยังเป็นอาหารบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง และบำรุงโลหิต ข้าวยำเป็นอาหารที่มีลักษณะเฉพาะที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมการกินของชาวใต้ ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้คือ "น้ำบูดู" ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการปรุงแต่งรสอาหารของชาวใต้ โดยเป็นการนำเอาพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านมาเป็นเครื่องปรุงที่มีคุณค่าอาหารสูง และเป็นความชาญฉลาดที่นำเอาสมุนไพรพื้นบ้านมาปรุงเป็นยาแต่อยู่ในรูปของอาหาร


ห่อหมกปลา เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงแต่ให้โปรตีนและไขมันน้อย เป็นอาหารที่ให้ธาตุแคลเซียมสูงเป็นพิเศษ ประกอบด้วย เครื่องปรุงสมุนไพรหลายชนิดที่ช่วยให้มีคุณค่าอาหารสูง สรรพคุณทางยาของห่อหมกปลาส่วนใหญ่มาจากเครื่องปรุงสมุนไพร เช่น กระชาย กระเทียม ใบยอ ข่า ตระไคร้ โหระพา พริก รากผักชี ทำให้เป็นอาหารที่บำรุงธาตุ บำรุงกระดูก เจริญอาหาร ขับลม ขับเหงื่อแก้จุกเสียด ช่วยลดความดันโลหิตสูง ทางด้านภูมิปัญญานั้น คือ เป็นการนำเอาเครื่องปรุงสมุนไพรหลากรสมารวมกับกะทิและเนื้อปลา กลายเป็นยาในรูปแบบของอาหารที่มีคุณค่าสูง และยังมีศิลปะในการนำใบตองมาห่อแทนการใช้ภาชนะ เพิ่มกลิ่นรส ร่วมกับใบยออ่อนที่ใช้รอง เป็นการผสมผสานการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยแท้


แกงป่า เป็นอาหารที่ให้พลังงานและไขมันต่ำ แต่ให้กากและใยอาหารสูงมาก ให้แร่ธาตุและวิตามินสูงเกือบทุกชนิด ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยลดความดันโลหิต ฆ่าพยาธิและเชื้อแบคทีเรีย แกงป่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด โดยการนำผักพื้นบ้านและสมุนไพรหลากหลายชนิดมาปรุงอย่างง่าย ๆ แต่ได้รสกลมกล่อม เป็นการปรุงยาให้อยู่ในรูปอาหารที่อร่อยมาก


จะเห็นได้ว่าอาหารไทยมีคุณลักษณะพิเศษ อย่างน้อยสามารถจำแนกตามการใช้ประโยชน์ หรือตามคุณค่าได้ถึง 3 ด้าน คือ ด้านคุณค่าทางอาหารและโภชนาการ ด้านคุณค่าทางยาและสมุนไพร และด้านคุณค่าทางภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารเลี้ยงประชากรโลกรายใหญ่ เป็นอันดับที่ 5 ของโลก รองจาก อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส อาหารไทยจึงควรมีบทบาทอย่างสูงในสังคมโลก ไม่เพียง แค่ขายอาหารในด้านคุณค่าทางโภชนาการ แต่ควรนำจุดเด่นคุณค่าอีก 2 ด้าน คือ ค้านคุณค่าทางยาและภูมิปัญญามาเป็นจุดขายเพื่อเพิ่มมูลค่าและความนิยมให้กับอาหารไทยมากขึ้น อันจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันบนเวทีการค้าโลกได้อย่างสง่างาม

หมายเหตุ บล็อกโดนลบ