วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

เคล็ดไม่ลับกับแกงส้ม

วิธีทำแกงส้มให้อร่อยเริด
นอกจากตัวน้ำพริกแกง ที่มีความสำคัญแล้ว ขั้นตอนการปรุง และสัดส่วน ระหว่างน้ำแกงกับผัก ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ในอันที่จะทำให้แกงส้มได้อร่อย เริ่มตั้งแต่ตั้งน้ำในหม้อ ต้องให้น้ำเดือดก่อนถึงใส่พริกแกง (น้ำแกงจะได้หอม) หลังจากใส่น้ำพริกแกง ลงไปแล้วให้ใช้ไฟกลาง ให้น้ำพริกแกงเดือดสักครู่ใหญ่ ถ้ารีบใส่ผักกับเครื่องอื่น ๆ ลงไป จะได้แกงส้มที่มี รสเผ็ดแบบแผด ๆ ไม่กลมกล่อม

หลังจากเคี่ยวน้ำพริกแกงสักครู่แล้ว จึงใส่ผักลงต้มจนผักสุกนุ่ม จึงใส่เนื้อปลาหรือกุ้ง ยกเว้น กรณีแกงส้มผักกระเฉด ให้ใส่ปลาปรุงรส รอจนน้ำเดือด จึงใส่ผักกระเฉดเป็นอันดับสุดท้าย แล้วปิดเตาทันที เพราะผักกระเฉด หากถูกความร้อนนานจะเหนียว ทานไม่อร่อย

แกงส้มปลา ความใช้ปลาที่สดใหม่ ยังไม่แช่เย็น จะได้เนื้อปลาที่นุ่ม อร่อย ไม่ยุ่ย ถ้ากลัวว่าแกงแล้วจะคาว ให้นำปลาหั่นเป็นชิ้นตามต้องการ นำไปลวกครั้งหนึ่งก่อน แล้วค่อยนำไปแกง แต่ถ้าปลาไม่ค่อยสด หรือเป็นปลาแช่เย็น แนะนำให้นำไปทอดก่อน ให้พอเหลือง แล้วค่อยนำมาแกงจะดีกว่า

เคล็ดลับสุดยอด ถ้าอยากได้แกงส้มที่มีน้ำเข้มข้น ให้ผสมเนื้อปลา ลงในน้ำพริกแกงก่อนนำไปแกง มีวิธีการตามนี้นะคะ นำเนื้อปลาที่จะใช้ แบ่งออกมาเล็กน้อย นำไปต้มจนสุก จากนั้นแยกก้างออก นำไปโขลกในครกให้เนื้อปลาแตก จากนั้น ใส่น้ำพริกแกงส้ม ที่เตรียมไว้ลงไปโขลกรวม แล้วจึงนำไปแกง ตามขั้นตอนปรกติ จะได้น้ำแกง ของแกงสัมที่เข้มข้นขึ้น

หมายเหตุ บล็อกโดนลบ



สำหรับเด็กๆเบื่ออาหารจ้า

ไข่ตุ๋นปูอัด
ใครที่มีเด็กอยู่ในบ้าน อาจจะเคยพบกับปัญหานี้ เด็กเบื่ออาหาร อะไรอะไร ก็ไม่อร่อย ถ้าใช่ เราขอแนะนำ เมนูอาหารสำหรับเด็ก ไข่ตุ๋นปูอัด ทำง่าย แต่อร่อยล้ำ ก็ ลองเอาไปทำทานกันดูนะ

เครื่องปรุง
1. ไข่ไก่(เบอร์ 1) 3 ฟอง 2. น้ำเปล่า 3. ปูอัด 3-4 แท่ง(หั่นแทยง) 4. แครอทหั่นลูกเต๋าเล็ก 2 ช้อนโต๊ะ หั่นแท่งเล็กน้อย 5. ต้นหอมซอย เล็กน้อย 6. ซิอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ 7. ซอสปรุงรส 2 ช้อนชา 8. น้ำปลา 1/2 ช้อนโต๊ะ

1. ใส่น้ำในลังถึง จากนั้นนำลังถึงตั้งไฟ ระหว่างรอน้ำเดือด ตอกไข่ใส่ชาม ใช้ซ่อมตีไข่ให้ไข่แดงและไข่ขาวเข้ากัน ปรุงรสด้วย ซิอิ๊วขาว ซอสปรุงรส และน้ำปลา จากนั้นค่อยๆ เติมน้ำเปล่าลงไป คนให้เข้ากัน ใส่ปูอัดและแครอท ที่หั่นเตรียมไว้ส่วนหนึ่งลงในชาม แบ่งไว้ส่วนหนึ่ง เอาไว้แต่งหน้า จากภาพจะเห็นแครอทลอยอยู่บนไข่ ส่วนปูอัดจะจมอยู่ด้านล่าง

2. พอน้ำเดือด นำชามไข่ที่เตรียมไว้ ใส่ในลังถึงปิดฝา ใช้ไฟปานกลาง นึ่งประมาณ 20 นาที เมื่อไข่สุกจะได้ไข่ตุ๋นหน้าตาประมาณในภาพ ถึงขั้นตอนนี้อาจจะยังไม่ต้องให้ไข่สุก ทั้ง 100 % ก็ได้ค่ะ เพราะเดี๋ยวต้องแต่งหน้าแล้วนึ่งต่ออีก เอาเป็นว่าให้เกือบสุกก็แล้วกัน

เวลาที่ใช้ในการนึ่งจะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับไข่ว่าเป็นไข่ที่ออกจากตู้เย็นหรือเปล่า และไฟที่ใช้บางทีอาจจะไม่เท่ากัน แต่ที่สำคัญ เวลาใส่ชามไข่ในลังถึง ต้องรอให้น้ำเดือดก่อนค่ะ


3. แต่งหน้าไข่ตุ๋นด้วย ปูอัด โรยแครอทแบบแท่ง ต้นหอมหั่นฝอย จากนั้นปิดฝาลังถึง นึ่งต่อประมาณ 2-3 นาที ให้ปูอัดและผักสุก ยกเสิร์พ ทานร้อนๆ อร่อยมากขอบอก
วิธีทดสอบว่าไข่สุกแล้วหรือยัง ให้ใช้ช้อนหรือซ่อมแทงลงไปที่เนื้อไข่ จิ้มลงไปเบาๆ ก็พอนะคะ ไม่ใช่กวนไข่ ถ้าไข่สุกเนื้อไข่จะเกาะกันดี หากเป็นน้ำสีไข่ดิบไหลขึ้นมา ก็แสดงว่าอาจจะยังสุกไม่ทั่วดี ปิดฝานึ่งต่ออีกหน่อย
หมายเหตุ บล็อกโดนลบ

มีเรื่องเล่ามาฝาก


เรื่องเล่าเล็กๆน้อยๆ
ในปัจจุบันคนไทยมีการปรับเปลี่ยนการกินอาหารจากรูปแบบดั้งเดิมมาเป็นอาหารที่ได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกมากขึ้นทำให้สถานการณ์ของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเห็นได้จากปัญหาโภชนาการที่เกิดจากการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องทำให้สมดุลของสารอาหารเสียไปนำไปสู่การเกิดโรคเรื้องรังจากความเสื่อมของร่างกายซี่งกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกเพศและวัยได้แก่โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งบางชนิด สาเหตุหลักคือคนไทยไม่ให้ความสำคัญกับอาหารไทยในชีวิตประจำวันเท่าที่ควรตลอดจนไม่ตระหนักถึงประโยชน์ของอาหารไทยต่อสุขภาพดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและคัดเลือกอาหารไทยที่สมควรส่งเสริมให้เป็นอาหารไทยเพื่อสุขภาพ โดยการพัฒนาจัดปรับตำรับอาหารไทยต่างๆที่มีอยู่ให้เป็นตำรับอ้างอิงโดยคงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยการสัมภาษณ์ผู้ใหญ่ไทยจำนวน 500 คนใน 4 ภูมิภาครวมทั้งกรุงเทพมหานคร เพื่อสำรวจรายชื่ออาหารไทยที่ยังคงได้รับความนิยมร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหารไทยเพื่อให้ได้รายชื่ออาหารไทยที่ควรส่งเสริมจากนั้นจึงนำมาศึกษาตำรับและทำการทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อเป็นตำรับอาหารไทยอ้างอิง สำหรับวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการการศึกษานี้ได้พัฒนาตำรับอาหารไทยทั้งสิ้น 3 ประเภท คืออาหารจานเดียว อาหารว่าง และอาหารร่วมสำรับ จำนวน 21 ตำรับ ที่มีความหลากหลายของรสชาติและวิธีการปรุง ผลจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทยพบว่า อาหารไทยมีความหลากหลายของคุณค่าทางโภชนาการ เช่นพลังงานของอาหารไทยที่มีตั้งแต่พลังงานต่ำไปถึงพลังงานสูงอาหารไทยส่วนใหญ่มีการกระจายตัวของพลังงานที่ได้จากสารอาหารหลักอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจอาหารไทยแต่ละสำรับมีจุดเด่นของตัวเอง ที่สามารถนำมาเลือกบริโภคให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาวะของแต่ละบุคคล อาหารไทยแต่ละชนิดมีพลังงานและไขมันต่ำ ได้แก่ขนมจีน น้ำเงี้ยว ข้าวกับแกงเลียงหรือกับแกงส้มหรือกับต้มยำกุ้ง อาหารไทยที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ขนมจีน น้ำเงี้ยว ขนมจีนน้ำยา ข้าวกับแกงเลียงหรือกับแกงส้มหรือกับห่อหมกปลาช่อนใบยอ อาหารไทยที่มีแคลเซียมปานกลางถึงสูง ได้แก่ ข้าวคลุกกะปิ ผัดไทย ข้าวกับน้ำพริกกะปิปลาทูทอด นอกจากคุณค่าทางโภชนาการของสารอาหารที่จำเป็นแล้วอาหารไทยส่วนใหญ่ยังมีปริมาณใยอาหารอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และมีปริมาณสารอาหารที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ เช่น วิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน นอกจากคุณค่าทางโภชนาการแล้วตำรับอาหารไทยต่างๆที่ทำการศึกษายังประกอบด้วยสารสังเคราะห์จากพืชหลายชนิดที่ได้จากเครื่องปรุงหลัก คือ จากพืชผักสมุนไพรและเครื่องเทศ ผลการศึกษาแสดงแนวทางให้เห็นว่าอาหารไทยเป็นอาหารที่มีศักยภาพสูงในการเป็นอาหารเพื่อสุขภาพจึงควรรณรงค์ให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องกับคนไทยให้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารไทยที่มีต่อสุขภาพขณะเดียวกันควรมีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบและรวบรวมตำรับอาหารไทยให้มีความเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นทั้งตำรับที่ควรที่อนุรักษ์ลักษณะดั้งเดิมของอาหารไทยและตำรับที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวัถุประสงค์ต่างๆ เพื่อผลทางสุขภาพ รวมทั้งการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทของอาหารไทยที่มีต่อสุขภาพ เพื่อเป็นแนวทางการสนับสนุนการบริโภคและส่งออกอาหารไทยสู่ตลาดโลก

หมายเหตุ บล็อกโดนลบ

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

แนะนำเมนูเด็ดกันจ้า


1. รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัวให้เป็นปกติ
2. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าวควรรับประทานเป็นข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือ
3. รับประทานพืชผักผลไม้เป็นประจำ
4. รับประทานปลาและเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
5. รับประทานที่มีไขมันแต่พอควร
6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัด
7. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารถนอม เช่น อาหารหมักดองอาหารกระป๋อง
8. งดหรือลดเครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เมนูเด็ดมาทางนี้

ข้าวยำเป็นอาหารของชาวใต้ รสชาติจะอร่อยมากน้อยขึ้นอยู่กับน้ำบูดู

เครื่องปรุงประกอบด้วย
ข้าวสวย 1 - 2 ถ้วย (150 กรัม)
กุ้งแห้งป่น 3 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม)
มะพร้าวหั่นฝอย คั่วจนเหลืองกรอบ 3 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม)
พริกขี้หนูคั่วป่น 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)

ผัก
ถั่วงอกเด็ดหาง 1/3 ส่วน (25 กรัม)
ตะไคร้หั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
ใบมะกรูดอ่อนหั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
มะม่วงดิบหั่นเส้นเล็ก 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
ถั่วฝักยาวหั่นฝอย 3 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม)
มะนาว1-2 ลูก(50 กรัม)

เครื่องปรุงน้ำบูดู
น้ำบูดู 3 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม)
น้ำ 1 ถ้วยครึ่ง (300 กรัม)
ปลาอินทรีย์เค็ม 1 ชิ้น (10 กรัม)
น้ำตาลปีบ 1 ถ้วย (10 กรัม)
หอมแดงทุบพอแหลก 5 หัว (25 กรัม)
ตะไคร้หั่นท่อนสั้น 2 ต้น (40 กรัม)
ใบมะกรูดฉีก 5 ใบ (10 กรัม)
ข่ายาว 1 นิ้วทุบพอแตก1 ชิ้น (20 กรัม)

วิธีทำ
1. ทำน้ำบูดูโดยการต้มปลาอินทรีย์จนเปื่อย แกะเอาแต่เนื้อใส่
2. ใส่หอม ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูดฉีก น้ำตาลปีบ ต้มต่อจนน้ำบูดูข้น ชิมให้มีรสเค็มหวาน ยกลง
3. จัดเสิร์ฟโดย ตักข้าวใส่จาน ใส่มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น และผักทั้งหมดอยางละน้อย คลุกให้เข้ากัน ราดน้ำบูดู ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว ชิมรสตามชอบ

คุณค่าทางยาสมุนไพรในเครื่องปรุง
1. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ ขับลม บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร
2. ข่า รสเผ็ดปร่า ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดเฟ้อ
3. ใบมะกรูด รสปร่า กลิ่นหอม ช่วยแต่งกลิ่น ดับกลิ่นคาว
4. พริก รสเผ็ด ช่วยขับลม ช่วยย่อย เจริญอาหาร
5. มะนาว รสเปรี้ยว ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการไอ
6. ถั่วฝักยาว รสหวานมัน บำรุงธาตุดิน
7. มะม่วงดิบ รสเปรี้ยว ขับเสมหะ ช่วยระบายท้อง
8. มะพร้าวคั่ว รสหวานมัน ช่วยบำรุงธาตุดิน บำรุงเส้นเอ็น
9. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้ไข้หวัด แก้โรคในปาก บำรุงธาตุ

คุณค่าทางโภชนาการ
ข้าวยำ 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 1,141 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยน้ำ 589.7 กรัม โปรตีน 31.1 กรัม ไขมัน 18.0 กรัม คาร์โบไฮเดรต 217.3 กรัม กาก 11.8 กรัม ใยอาหาร 1.8 กรัม แคลเซียม 191.9 มิลิกรัม ฟอสฟอรัส 363 มิลลิกรัม เหล็ก 200 มิลลิกรัม เรตินอล 13.2 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 65.8 ไมโครกรัม วิตามินเอ 6772.4 IU วิตามินบีหนึ่ง 825.18 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.61 มิลลิกรัม ไนอาชิน 7.77 มิลลิกรัม วิตามินซี 68.80 มิลลิกรัม


เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับทุกภาค


เครื่องปรุง
ปลาช่อน 1 ตัว (300 กรัม)
น้ำ 3 ถ้วย (750 กรัม)
แตงโมอ่อน 1 ลูก (100 กรัม)
ผักบุ้งไทยหั่นพองาม 10 ยอด (100 กรัม)
ถั่วฝักยาวหั่นพองาม 1 ถ้วย (100 กรัม)
ดอกแค 1 ถ้วย (100 กรัม)
น้ำปลา 2-3 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
น้ำส้มมะขาม 1-2 ช่อนโต๊ะ (30 กรัม)

น้ำพริกแกงส้ม
พริกแห้งผ่าเอาเมล็ดออกแช่น้ำ 5 เม็ด (15 กรัม)
หอมแดง 7 หัว (35 กรัม)
กระเทียม 1 หัว (20 กรัม)
กระชาย 1 ช้อนชา (10 กรัม)
กะปิ 1 ช้อนชา (5 กรัม)
เกลือ 1/2 ช้อนชา (5 กรัม)
โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด

วิธีทำ
1. ขอดเกล็ดปลา ควักไส้ออกล้างปลาด้วยน้ำเกลือให้หมดเมือก ตัดท่อนหางยาวประมาณ 3 นิ้ว ที่เหลือตัดเป็นแว่นขนาด 1/2 นิ้ว
2. ต้มน้ำ 3 ถ้วยให้เดือดใส่ปลาท่อนหางต้มให้สุก ตักขึ้น แกะเอาแต่เนื้อปลา โขลกกับเครื่องแกงให้เข้ากัน
3.ละลายน้ำพริกลงในหม้อต้มปลา ตั้งไฟให้เดือดใส่แตงโมอ่อน ผักบุ้ง พอเดือดสักครู่ใส่ถั่วฝักยาว ใส่ดอกแค ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะขามเปียก ชิมให้ออกรสเปรี้ยวเล็กน้อย พอน้ำเดือด อีกครั้งใส่ปลา พอสุก ยกลงเสิร์ฟ (รับประทานได้ 5-6 คน)

คุณค่าทางยาสมุนไพรในเครื่องปรุง
1. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไข้ ขับเสมหะ ช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย ลดระดับไขมันในเลือด
2. กระชาย รสเผ็ดร้อน บำรุงธาตุ ขับลม ช่วยเจริญอาหารแก้ท้องอืดเฟ้อ
3. ดอกแค รสขม แก้ไขหัวลม ช่วยเจริญอาหาร
4. มะขามเปียก รสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยระบาย แก้ท้องผูก
5. ผักบุ้ง รสเย็นจืด บำรุงธาตุไฟ ถอนพิษเบื่อเมา ทำให้อาเจียนเนื่องจากพิษของฝิ่น และสารหนู
6. แตงโมอ่อน รสเย็นจืด แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้ไข้หวัด บำรุงธาตุ ขับลม

คุณค่าทางโภชนาการ
สำหรับ 1 คน
พลังงาน 102.40 กิโลแคลอรี โปรตีน 12.60 กรัม ไขมัน 2.35 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.97 กรัม แคลเซียม 41.85 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 161.35 มิลลิกรัม วิตามิน เอ 75.29 อาร์อี ธาตุเหล็ก 4.77 มิลลิกรัม ในอาหาร 0.9 กรัม (สูตรตำรับจากหนังสือภูมิปัญญาไทย อาหารไทยอาหารสุขภาพ)



แกงแคไก่เป็นอาหารพื้นบ้านภาคเหนือ ประมาณ 7 - 8 คน

เครื่องปรุง

ไก่เอาหนังออกหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ 1/2 ถ้วย (100 กรัม) ผักเผ็ดหรือผักคราดเด็ดสั้น ๆ 2 ถ้วย (100 กรัม)
ชะอมเด็กสั้น 1 ถ้วย (100 กรัม)
ตำลึงเด็ดเป็นใบ 1 ถ้วย (100 กรัม)
ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ 1/2 ถ้วย (50 กรัม)
ใบชะพลู (ผักแค) หั่นหยาบ 1 ถ้วย (100 กรัม)
กะเพราเด็ดเป็นใบ 1/2 ถ้วย (50 กรัม)
ผักขี้หูดเด็ดเฉพาะส่วนที่กินได้ 1/2 ถ้วย (50 กรัม)
มะเขือพวงผ่าครึ่ง 1-2 ถ้วย (100 กรัม)
มะเขือเปราะผ่าครึ่ง 5 ลูก (50 กรัม)
บวบ 2 ลูก (200 กรัม)
ถั่วฝักยาวหั่นสั้น 5 ฝัก (100 กรัม)
หน่อไม่หั่นพอคำ 1/2 ถ้วย (50 กรัม)
น้ำมัน 3 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
น้ำ 4 ถ้วย (1000 กรัม)

เครื่องแกง
พริกแห้ง 8 เม็ด (30 กรัม)
กระเทียม 1-2 หัว (30 กรัม)
ปลาร้า 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
ตะไคร้ 1 ต้น (15 กรัม)
หอมแดง 4 หัว (30 กรัม)
กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
เกลือป่น 1 ช้อนชา (5 กรัม)

วิธีทำ
1. โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
2. ล้างบวบและปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นพอคำ
3. กระทะตั้งไฟให้ร้อน ใส่ไก่เพื่อรวนให้สุกและหอม ตักขึ้นพักไว้
4. ใส่น้ำมันลงในตั้งไฟให้ร้อน ใส่เครื่องแกงที่เตรียมไว้ผัดให้หอม ใส่ไก่ ใส่หน่อไม้ ผัดให้เข้ากัน
5. ใส่น้ำลงในหม้อ ตักเครื่องแกงที่ผัดไว้ลงไป และตั้งไฟให้เดือด ใส่ผัก ถั่วฝักยาว มะเขือพวง

และผักที่เตรียมไว้ในเครื่องปรุง ปรุงรสตามชอบ คนให้เข้ากัน พอสุกแล้วยกลงเสิร์ฟ

คุณค่าทางยาสมุนไพรในเครื่องปรุง
1. ชะอม รากมีสรรพคุณแก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลมในลำไส้ ยอดชะอมช่วยลดความร้อนในร่างกาย
2. ใบชะพลู รสเผ็ด แก้ธาตุพิการ ขับลม
3. ผักขี้หูด รสเผ็ด ถ้าทำให้สุกมีรสหวานมัน บำรุงธาตุดิน ช่วยเจริญอาหาร
4. ตำลึง รสเย็ดจืด แก้ไข้ ดับพิษร้อน ใบสดตำคั้นน้ำแก้พิษแมลงกัดต่อย แก้ปวดแสบปวดร้อน
5. บวบ รสเย็นจืด บำรุงธาตุไฟ แก้ไข้ บำรุงร่างกาย มีธาตุแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัส
6. มะเขือพวง รสขม แก้ไข้ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นการทำงานของลำไส้
7. หน่อไม้ รสขมหวานร้อน รากขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ใบ ขับฟอกล้างโลหิต ระดูที่เสีย
8. กะเพรา รสเผ็ดร้อน บำรุงธาตุ ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ
9. ผักชีฝรั่ง รสเผ็ดร้อน ขับลมช่วยแก้อาการท้องอืดเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร
10. ถั่วฝักยาว รสหวานมัน บำรุงธาตุดิน
11. มะเขือเปราะ รสขมเล็กน้อย กระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยเจริญอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการ
สำหรับ 1 คน
พลังงาน 127.5 กิโลแคลอรี โปรตีน 7.95 กรัม ไขมัน 6.52 กรัม คาร์โบไฮเดรต 9.11 กรัม แคลเซียม 150.1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 129.27 มิลลิกรัม วิตามินเอ 315.69 อาร์อี ธาตุเหล็ก 4.06 มิลลิกรัม ใยอาหาร 3.7 กรัม

หมายเหตุ บล็อกโดนลบ

ขอยกตัวอย่างอาหารไทยที่สะท้อนให้คุณค่าทางโภชนาการ ยาสมุนไพร และทางภูมิปัญญา



ขอยกตัวอย่างอาหารไทยที่สะท้อนให้คุณค่าทางโภชนาการ ยาสมุนไพร และทางภูมิปัญญา ก็เช่น แกงส้ม ดอกแคมีคุณค่าทางอาหาร คือให้พลังงานและไขมันต่ำ ในด้านยาและสมุนไพรไพรคือ แก้ไขหัวลม ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ด้านภูมิปัญญานั้นช่วยส่งเสริมสุขภาพ และขจัดกลิ่นคาวปลาได้โดยใส่ปลาขณะที่น้ำเดือด

แกงเลียง อาหารที่ให้แร่ธาตุจำพวกแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และให้วิตามินเอสูงมาก เหมาะสำหรับกินแก้ ไข้หวัด ช่วยให้แม่ลูกอ่อนมีน้ำนมมาก เหมาะสำหรับทุกวัยโดยเฉพาะหญิงมีครรภ์และแม่ลูกอ่อน เป็นอาหารบำรุง ร่างกาย บำรุงเลือด บำรุงกระดูก และบำรุงตา ราคาถูก ปลอดภัยจากสารพิษ เพราะปรุงจากผักพื้นบ้านเป็นหลัก

ต้มยำ เป็นอาหารที่ให้พลังงานพอเหมาะ ให้โปรตีนสูง แต่ไขมันต่ำ มีเครื่องปรุงสมุนไพรนานาชนิด ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร แก้หวัด ควบคุมกำหนัด และลดความดันโลหิตสูง นอกจากจะมีรสอร่อยเป็นตำรับอาหารสากลที่รู้จักกัน ไปทั่วโลกแล้ว นับเป็นศิลปะการปรุงรส ชั้นเยี่ยมที่ผสมผสานเครื่องเทศพื้นบ้าน และสมุนไพรในครัวเรือน กับอาหาร โปรตีนจากปลา กุ้ง จนได้รสชาติที่กลมกล่อมช่วยเจริญอาหารโดยไม่ต้องกลัวท้องอืดท้องเฟ้อ

สะเดาน้ำปลาหวาน เป็นอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างมาก ให้โปรตีนพอใช้ แต่ให้ไขมันต่ำ ให้คุณค่าอาหารสูงมาก ทั้งแร่ธาตุ แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี 1 และ วิตามินซี ช่วยแก้ไข้หัวลม ให้คุณค่าอาหารสูงมาก ทั้งแร่ธาตุ แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี 1 และวิตามินซี ช่วยแก้ไข้หัวลม บรรเทาความร้อน ช่วยปรับธาตุให้สมดุล ช่วยป้องกันมะเร็ง เป็น อาหารจานประวัติศาสตร์ ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ที่สามารถทำให้สะเดาซึ่งมีรสขม กลายเป็นอาหารที่มีรสอร่อย ช่วยเจริญอาหารเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ปรุงยาให้เป็นอาหาร

ข้าวยำ เป็นอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างมากเช่นกัน ให้โปรตีนแต่ไขมันน้อย เป็นอาหารที่ให้ธาตุ เหล็กสูงมาก และยังให้วิตามินเอ และวิตามินบี 1 สูงเป็นพิเศษ อีกทั้งยังเป็นอาหารบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง และบำรุงเลือด ข้าวยำเป็นอาหารที่มีลักษณะเฉพาะที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมการกินของชาวใต้ ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้คือ น้ำบูดู ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการปรุงแต่งรสอาหารของชาวใต้โดยเฉพาะ เป็นการนำเอาพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านมาเป็น เครื่องปรุงที่มีคุณค่าอาหารสูง เป็นความชาญฉลาดที่นำเอาสมุนไพรพื้นบ้านมาปรุงเป็นยาแต่อยู่ในรูปของอาหาร

ส่วนห่อหมกปลา เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง แต่ให้โปรตีนและไขมันน้อย เป็นอาหารที่ให้ธาตุแคลเซียมสูงเป็นพิเศษ ประกอบด้วยเครื่องปรุงสมุนไพรหลายชนิดที่ช่วยให้มีคุณค่าอาหารสูง สรรพคุณทางยาของห่อหมกปลา ส่วนใหญ่มาจาก เครื่องปรุงสมุนไพร เช่น กระชาย กระเทียม ใบยอ ข่า ตะไคร้ โหระพา พริก รากผักชี ทำให้เป็นอาหารที่บำรุงธาตุ บำรุง กระดูก เจริญอาหาร ขับลม ขับเหงื่อ แก้จุกเสียด ช่วยควบคุมความดันเลือด ทางด้านภูมิปัญญานั้นคือ เป็นการนำเอาเครื่อง ปรุงสมุนไพรหลากรส มารวมกับกะทิ และเนื้อปลากลายเป็นยาในรูปแบบของอาหารที่มีคุณค่าสูงและยังมีศิลปะในการนำ ใบตองมาห่อแทนการใช้ภาชนะ เพิ่มกลิ่นรสร่วมกับใบยออ่อนที่ใช้รอง เป็นการผสมผสานการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ โดยแท้

อาหารจานสุดท้ายที่อยากจะกล่าวถึง คือ แกงป่า เป็นอาหารที่ให้พลังงานและไขมันต่ำ แต่ให้กากและใยอาหารสูงมาก ให้แร่ธาตุและวิตามินสูงเกือบทุกชนิด ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยลดความดันโลหิตสูง ฆ่าพยาธิ และเชื้อแบคทีเรีย แกงป่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด โดยการนำผักพื้นบ้าน และสมุนไพรหลากหลายชนิดมาปรุงอย่างง่าย ๆ แต่ได้รสกลมกล่อม เป็นการปรุงยาให้อยู่ในรูปอาหารที่อร่อย

จะเห็นได้ว่าอาหารไทยมีคุณลักษณะพิเศษ อย่างน้อยสามารถจำแนกตามการใช้ประโยชน์ หรือตามคุณค่าได้ถึง 3 ด้าน คือ ด้านคุณค่าทางอาหารและโภชนาการ ด้านคุณค่าทางยาและสมุนไพร และด้านคุณค่าทางภูมิปัญญาและ ศิลปวัฒนธรรม ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารเลี้ยงประชากรโลกรายใหญ่ เป็นอันดับที่ 5 ของโลก รองจาก อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส อาหารไทยจึงควรมีบทบาทอย่างสูงในสังคมโลก ไม่เพียงแค่ขายอาหารในด้าน คุณค่าโภชนาการ แต่ควรนำจุดเด่นคุณค่าอีก 2 ด้านคือ ด้านคุณค่าทางยา และด้านภูมิปัญญามาเป็นจุดขายเพื่อเพิ่ม มูลค่าและความนิยมให้กับอาหารไทยมากขึ้น
หมายเหตุ บล็อกโดนลบ

มารู้จักเครื่องปรุงที่เป็นสรรพคุณทางยาดีกว่า


อาหารไทยถือว่ามีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษ เนื่องจากประเทศไทยเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ มีอาหารตามธรรมชาติที่มี ลักษณะพิเศษตามภูมิอากาศและภูมิประเทศที่หลากหลายตลอดทั้งปี รวมทั้งคนไทยมีศิลปะอยู่ในสายเลือดอยู่แล้ว จึงแสดงออกซึ่งศิลปวิทยาของตนในรูปแบบการปรุงแต่งและการกินอาหารที่มีลักษณะเฉพาะ ตั้งแต่เรื่องการผสมกลม กลืนในการปรุงแต่งกลิ่น รส ให้กลมกล่อมอร่อยและรสจัดอย่างโดดเด่นเป็นพิเศษ ในเรื่องการจัดรูปแบบและแกะสลัก ตบแต่งสีสันสวยงามวิจิตรบรรจง ในเรื่องการผสมผสานทางคุณค่าอาหารและสรรพคุณทางยาเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ สูงสุดทั้งในแง่การป้องกัน การบำรุงและการรักษา ตลอดจนการใช้อาหารเป็นเครื่องแสดงความผูกพันในหมู่ญาติมิตร และเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคม รวมทั้งการใช้อาหารเป็นสื่อทางความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ

เครื่องปรุงอาหารไทยที่สะท้อนให้เห็นสรรพคุณทางยาและสมุนไพรที่เรากินกันบ่อย ก็เช่น

กะเพรา - ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม ขับเสมหะ บำรุงธาตุ เพิ่มน้ำนมในหญิงหลังคลอด


กระชาย - ช่วยแก้บิด แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องร่วง แก้ไอ บำรุงหัวใจ

ข่า - ช่วยแก้ลมพิษ แก้บิด ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดฟกช้ำ


กระเทียม - ช่วยแก้ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิตสูง ขับลม ขับเสมหะ แก้จุกเสียด ขับพยาธิเส้นด้าย

ตะไคร้ - ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ลดความดันโลหิตสูง

ใบมะกรูด - ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด



หมายเหตุ บล็อกโดนลบ

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

ตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพ


ตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพที่จะนำเสนอมี 3 ตำรับคือ ข้าวยำ ห่อหมกปลา และแกงป่า โดยความเป็นจริงแล้วยังมีตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพอื่นๆ อีกมากที่มีคุณค่าอันยังประโยชน์ใหญ่หลวงต่อสุขภาพ

ข้าวยำ เป็นอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างมาก ให้โปรตีนสูงแต่ไขมันน้อย เป็นอาหารที่ให้ธาตุเหล็กสูงมาก และยังให้วิตามินเอและวิตามินบี 1 สูงเป็นพิเศษ อีกทั้งยังเป็นอาหารบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง และบำรุงโลหิต ข้าวยำเป็นอาหารที่มีลักษณะเฉพาะที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมการกินของชาวใต้ ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้คือ "น้ำบูดู" ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการปรุงแต่งรสอาหารของชาวใต้ โดยเป็นการนำเอาพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านมาเป็นเครื่องปรุงที่มีคุณค่าอาหารสูง และเป็นความชาญฉลาดที่นำเอาสมุนไพรพื้นบ้านมาปรุงเป็นยาแต่อยู่ในรูปของอาหาร


ห่อหมกปลา เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงแต่ให้โปรตีนและไขมันน้อย เป็นอาหารที่ให้ธาตุแคลเซียมสูงเป็นพิเศษ ประกอบด้วย เครื่องปรุงสมุนไพรหลายชนิดที่ช่วยให้มีคุณค่าอาหารสูง สรรพคุณทางยาของห่อหมกปลาส่วนใหญ่มาจากเครื่องปรุงสมุนไพร เช่น กระชาย กระเทียม ใบยอ ข่า ตระไคร้ โหระพา พริก รากผักชี ทำให้เป็นอาหารที่บำรุงธาตุ บำรุงกระดูก เจริญอาหาร ขับลม ขับเหงื่อแก้จุกเสียด ช่วยลดความดันโลหิตสูง ทางด้านภูมิปัญญานั้น คือ เป็นการนำเอาเครื่องปรุงสมุนไพรหลากรสมารวมกับกะทิและเนื้อปลา กลายเป็นยาในรูปแบบของอาหารที่มีคุณค่าสูง และยังมีศิลปะในการนำใบตองมาห่อแทนการใช้ภาชนะ เพิ่มกลิ่นรส ร่วมกับใบยออ่อนที่ใช้รอง เป็นการผสมผสานการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยแท้



แกงป่า เป็นอาหารที่ให้พลังงานและไขมันต่ำ แต่ให้กากและใยอาหารสูงมาก ให้แร่ธาตุและวิตามินสูงเกือบทุกชนิด ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยลดความดันโลหิต ฆ่าพยาธิและเชื้อแบคทีเรีย แกงป่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด โดยการนำผักพื้นบ้านและสมุนไพรหลากหลายชนิดมาปรุงอย่างง่าย ๆ แต่ได้รสกลมกล่อม เป็นการปรุงยาให้อยู่ในรูปอาหารที่อร่อยมาก


จะเห็นได้ว่าอาหารไทยมีคุณลักษณะพิเศษ อย่างน้อยสามารถจำแนกตามการใช้ประโยชน์ หรือตามคุณค่าได้ถึง 3 ด้าน คือ ด้านคุณค่าทางอาหารและโภชนาการ ด้านคุณค่าทางยาและสมุนไพร และด้านคุณค่าทางภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารเลี้ยงประชากรโลกรายใหญ่ เป็นอันดับที่ 5 ของโลก รองจาก อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส อาหารไทยจึงควรมีบทบาทอย่างสูงในสังคมโลก ไม่เพียง แค่ขายอาหารในด้านคุณค่าทางโภชนาการ แต่ควรนำจุดเด่นคุณค่าอีก 2 ด้าน คือ ค้านคุณค่าทางยาและภูมิปัญญามาเป็นจุดขายเพื่อเพิ่มมูลค่าและความนิยมให้กับอาหารไทยมากขึ้น อันจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันบนเวทีการค้าโลกได้อย่างสง่างาม

หมายเหตุ บล็อกโดนลบ



ตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพ


ตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพที่จะนำเสนอมี 3 ตำรับคือ ข้าวยำ ห่อหมกปลา และแกงป่า โดยความเป็นจริงแล้วยังมีตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพอื่นๆ อีกมากที่มีคุณค่าอันยังประโยชน์ใหญ่หลวงต่อสุขภาพ

ข้าวยำ เป็นอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างมาก ให้โปรตีนสูงแต่ไขมันน้อย เป็นอาหารที่ให้ธาตุเหล็กสูงมาก และยังให้วิตามินเอและวิตามินบี 1 สูงเป็นพิเศษ อีกทั้งยังเป็นอาหารบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง และบำรุงโลหิต ข้าวยำเป็นอาหารที่มีลักษณะเฉพาะที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมการกินของชาวใต้ ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้คือ "น้ำบูดู" ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการปรุงแต่งรสอาหารของชาวใต้ โดยเป็นการนำเอาพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านมาเป็นเครื่องปรุงที่มีคุณค่าอาหารสูง และเป็นความชาญฉลาดที่นำเอาสมุนไพรพื้นบ้านมาปรุงเป็นยาแต่อยู่ในรูปของอาหาร


ห่อหมกปลา เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงแต่ให้โปรตีนและไขมันน้อย เป็นอาหารที่ให้ธาตุแคลเซียมสูงเป็นพิเศษ ประกอบด้วย เครื่องปรุงสมุนไพรหลายชนิดที่ช่วยให้มีคุณค่าอาหารสูง สรรพคุณทางยาของห่อหมกปลาส่วนใหญ่มาจากเครื่องปรุงสมุนไพร เช่น กระชาย กระเทียม ใบยอ ข่า ตระไคร้ โหระพา พริก รากผักชี ทำให้เป็นอาหารที่บำรุงธาตุ บำรุงกระดูก เจริญอาหาร ขับลม ขับเหงื่อแก้จุกเสียด ช่วยลดความดันโลหิตสูง ทางด้านภูมิปัญญานั้น คือ เป็นการนำเอาเครื่องปรุงสมุนไพรหลากรสมารวมกับกะทิและเนื้อปลา กลายเป็นยาในรูปแบบของอาหารที่มีคุณค่าสูง และยังมีศิลปะในการนำใบตองมาห่อแทนการใช้ภาชนะ เพิ่มกลิ่นรส ร่วมกับใบยออ่อนที่ใช้รอง เป็นการผสมผสานการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยแท้


แกงป่า เป็นอาหารที่ให้พลังงานและไขมันต่ำ แต่ให้กากและใยอาหารสูงมาก ให้แร่ธาตุและวิตามินสูงเกือบทุกชนิด ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยลดความดันโลหิต ฆ่าพยาธิและเชื้อแบคทีเรีย แกงป่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด โดยการนำผักพื้นบ้านและสมุนไพรหลากหลายชนิดมาปรุงอย่างง่าย ๆ แต่ได้รสกลมกล่อม เป็นการปรุงยาให้อยู่ในรูปอาหารที่อร่อยมาก


จะเห็นได้ว่าอาหารไทยมีคุณลักษณะพิเศษ อย่างน้อยสามารถจำแนกตามการใช้ประโยชน์ หรือตามคุณค่าได้ถึง 3 ด้าน คือ ด้านคุณค่าทางอาหารและโภชนาการ ด้านคุณค่าทางยาและสมุนไพร และด้านคุณค่าทางภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารเลี้ยงประชากรโลกรายใหญ่ เป็นอันดับที่ 5 ของโลก รองจาก อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส อาหารไทยจึงควรมีบทบาทอย่างสูงในสังคมโลก ไม่เพียง แค่ขายอาหารในด้านคุณค่าทางโภชนาการ แต่ควรนำจุดเด่นคุณค่าอีก 2 ด้าน คือ ค้านคุณค่าทางยาและภูมิปัญญามาเป็นจุดขายเพื่อเพิ่มมูลค่าและความนิยมให้กับอาหารไทยมากขึ้น อันจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันบนเวทีการค้าโลกได้อย่างสง่างาม

หมายเหตุ บล็อกโดนลบ