วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

เคล็ดไม่ลับกับแกงส้ม

วิธีทำแกงส้มให้อร่อยเริด
นอกจากตัวน้ำพริกแกง ที่มีความสำคัญแล้ว ขั้นตอนการปรุง และสัดส่วน ระหว่างน้ำแกงกับผัก ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ในอันที่จะทำให้แกงส้มได้อร่อย เริ่มตั้งแต่ตั้งน้ำในหม้อ ต้องให้น้ำเดือดก่อนถึงใส่พริกแกง (น้ำแกงจะได้หอม) หลังจากใส่น้ำพริกแกง ลงไปแล้วให้ใช้ไฟกลาง ให้น้ำพริกแกงเดือดสักครู่ใหญ่ ถ้ารีบใส่ผักกับเครื่องอื่น ๆ ลงไป จะได้แกงส้มที่มี รสเผ็ดแบบแผด ๆ ไม่กลมกล่อม

หลังจากเคี่ยวน้ำพริกแกงสักครู่แล้ว จึงใส่ผักลงต้มจนผักสุกนุ่ม จึงใส่เนื้อปลาหรือกุ้ง ยกเว้น กรณีแกงส้มผักกระเฉด ให้ใส่ปลาปรุงรส รอจนน้ำเดือด จึงใส่ผักกระเฉดเป็นอันดับสุดท้าย แล้วปิดเตาทันที เพราะผักกระเฉด หากถูกความร้อนนานจะเหนียว ทานไม่อร่อย

แกงส้มปลา ความใช้ปลาที่สดใหม่ ยังไม่แช่เย็น จะได้เนื้อปลาที่นุ่ม อร่อย ไม่ยุ่ย ถ้ากลัวว่าแกงแล้วจะคาว ให้นำปลาหั่นเป็นชิ้นตามต้องการ นำไปลวกครั้งหนึ่งก่อน แล้วค่อยนำไปแกง แต่ถ้าปลาไม่ค่อยสด หรือเป็นปลาแช่เย็น แนะนำให้นำไปทอดก่อน ให้พอเหลือง แล้วค่อยนำมาแกงจะดีกว่า

เคล็ดลับสุดยอด ถ้าอยากได้แกงส้มที่มีน้ำเข้มข้น ให้ผสมเนื้อปลา ลงในน้ำพริกแกงก่อนนำไปแกง มีวิธีการตามนี้นะคะ นำเนื้อปลาที่จะใช้ แบ่งออกมาเล็กน้อย นำไปต้มจนสุก จากนั้นแยกก้างออก นำไปโขลกในครกให้เนื้อปลาแตก จากนั้น ใส่น้ำพริกแกงส้ม ที่เตรียมไว้ลงไปโขลกรวม แล้วจึงนำไปแกง ตามขั้นตอนปรกติ จะได้น้ำแกง ของแกงสัมที่เข้มข้นขึ้น

หมายเหตุ บล็อกโดนลบ



สำหรับเด็กๆเบื่ออาหารจ้า

ไข่ตุ๋นปูอัด
ใครที่มีเด็กอยู่ในบ้าน อาจจะเคยพบกับปัญหานี้ เด็กเบื่ออาหาร อะไรอะไร ก็ไม่อร่อย ถ้าใช่ เราขอแนะนำ เมนูอาหารสำหรับเด็ก ไข่ตุ๋นปูอัด ทำง่าย แต่อร่อยล้ำ ก็ ลองเอาไปทำทานกันดูนะ

เครื่องปรุง
1. ไข่ไก่(เบอร์ 1) 3 ฟอง 2. น้ำเปล่า 3. ปูอัด 3-4 แท่ง(หั่นแทยง) 4. แครอทหั่นลูกเต๋าเล็ก 2 ช้อนโต๊ะ หั่นแท่งเล็กน้อย 5. ต้นหอมซอย เล็กน้อย 6. ซิอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ 7. ซอสปรุงรส 2 ช้อนชา 8. น้ำปลา 1/2 ช้อนโต๊ะ

1. ใส่น้ำในลังถึง จากนั้นนำลังถึงตั้งไฟ ระหว่างรอน้ำเดือด ตอกไข่ใส่ชาม ใช้ซ่อมตีไข่ให้ไข่แดงและไข่ขาวเข้ากัน ปรุงรสด้วย ซิอิ๊วขาว ซอสปรุงรส และน้ำปลา จากนั้นค่อยๆ เติมน้ำเปล่าลงไป คนให้เข้ากัน ใส่ปูอัดและแครอท ที่หั่นเตรียมไว้ส่วนหนึ่งลงในชาม แบ่งไว้ส่วนหนึ่ง เอาไว้แต่งหน้า จากภาพจะเห็นแครอทลอยอยู่บนไข่ ส่วนปูอัดจะจมอยู่ด้านล่าง

2. พอน้ำเดือด นำชามไข่ที่เตรียมไว้ ใส่ในลังถึงปิดฝา ใช้ไฟปานกลาง นึ่งประมาณ 20 นาที เมื่อไข่สุกจะได้ไข่ตุ๋นหน้าตาประมาณในภาพ ถึงขั้นตอนนี้อาจจะยังไม่ต้องให้ไข่สุก ทั้ง 100 % ก็ได้ค่ะ เพราะเดี๋ยวต้องแต่งหน้าแล้วนึ่งต่ออีก เอาเป็นว่าให้เกือบสุกก็แล้วกัน

เวลาที่ใช้ในการนึ่งจะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับไข่ว่าเป็นไข่ที่ออกจากตู้เย็นหรือเปล่า และไฟที่ใช้บางทีอาจจะไม่เท่ากัน แต่ที่สำคัญ เวลาใส่ชามไข่ในลังถึง ต้องรอให้น้ำเดือดก่อนค่ะ


3. แต่งหน้าไข่ตุ๋นด้วย ปูอัด โรยแครอทแบบแท่ง ต้นหอมหั่นฝอย จากนั้นปิดฝาลังถึง นึ่งต่อประมาณ 2-3 นาที ให้ปูอัดและผักสุก ยกเสิร์พ ทานร้อนๆ อร่อยมากขอบอก
วิธีทดสอบว่าไข่สุกแล้วหรือยัง ให้ใช้ช้อนหรือซ่อมแทงลงไปที่เนื้อไข่ จิ้มลงไปเบาๆ ก็พอนะคะ ไม่ใช่กวนไข่ ถ้าไข่สุกเนื้อไข่จะเกาะกันดี หากเป็นน้ำสีไข่ดิบไหลขึ้นมา ก็แสดงว่าอาจจะยังสุกไม่ทั่วดี ปิดฝานึ่งต่ออีกหน่อย
หมายเหตุ บล็อกโดนลบ

มีเรื่องเล่ามาฝาก


เรื่องเล่าเล็กๆน้อยๆ
ในปัจจุบันคนไทยมีการปรับเปลี่ยนการกินอาหารจากรูปแบบดั้งเดิมมาเป็นอาหารที่ได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกมากขึ้นทำให้สถานการณ์ของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเห็นได้จากปัญหาโภชนาการที่เกิดจากการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องทำให้สมดุลของสารอาหารเสียไปนำไปสู่การเกิดโรคเรื้องรังจากความเสื่อมของร่างกายซี่งกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกเพศและวัยได้แก่โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งบางชนิด สาเหตุหลักคือคนไทยไม่ให้ความสำคัญกับอาหารไทยในชีวิตประจำวันเท่าที่ควรตลอดจนไม่ตระหนักถึงประโยชน์ของอาหารไทยต่อสุขภาพดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและคัดเลือกอาหารไทยที่สมควรส่งเสริมให้เป็นอาหารไทยเพื่อสุขภาพ โดยการพัฒนาจัดปรับตำรับอาหารไทยต่างๆที่มีอยู่ให้เป็นตำรับอ้างอิงโดยคงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยการสัมภาษณ์ผู้ใหญ่ไทยจำนวน 500 คนใน 4 ภูมิภาครวมทั้งกรุงเทพมหานคร เพื่อสำรวจรายชื่ออาหารไทยที่ยังคงได้รับความนิยมร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหารไทยเพื่อให้ได้รายชื่ออาหารไทยที่ควรส่งเสริมจากนั้นจึงนำมาศึกษาตำรับและทำการทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อเป็นตำรับอาหารไทยอ้างอิง สำหรับวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการการศึกษานี้ได้พัฒนาตำรับอาหารไทยทั้งสิ้น 3 ประเภท คืออาหารจานเดียว อาหารว่าง และอาหารร่วมสำรับ จำนวน 21 ตำรับ ที่มีความหลากหลายของรสชาติและวิธีการปรุง ผลจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทยพบว่า อาหารไทยมีความหลากหลายของคุณค่าทางโภชนาการ เช่นพลังงานของอาหารไทยที่มีตั้งแต่พลังงานต่ำไปถึงพลังงานสูงอาหารไทยส่วนใหญ่มีการกระจายตัวของพลังงานที่ได้จากสารอาหารหลักอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจอาหารไทยแต่ละสำรับมีจุดเด่นของตัวเอง ที่สามารถนำมาเลือกบริโภคให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาวะของแต่ละบุคคล อาหารไทยแต่ละชนิดมีพลังงานและไขมันต่ำ ได้แก่ขนมจีน น้ำเงี้ยว ข้าวกับแกงเลียงหรือกับแกงส้มหรือกับต้มยำกุ้ง อาหารไทยที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ขนมจีน น้ำเงี้ยว ขนมจีนน้ำยา ข้าวกับแกงเลียงหรือกับแกงส้มหรือกับห่อหมกปลาช่อนใบยอ อาหารไทยที่มีแคลเซียมปานกลางถึงสูง ได้แก่ ข้าวคลุกกะปิ ผัดไทย ข้าวกับน้ำพริกกะปิปลาทูทอด นอกจากคุณค่าทางโภชนาการของสารอาหารที่จำเป็นแล้วอาหารไทยส่วนใหญ่ยังมีปริมาณใยอาหารอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และมีปริมาณสารอาหารที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ เช่น วิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน นอกจากคุณค่าทางโภชนาการแล้วตำรับอาหารไทยต่างๆที่ทำการศึกษายังประกอบด้วยสารสังเคราะห์จากพืชหลายชนิดที่ได้จากเครื่องปรุงหลัก คือ จากพืชผักสมุนไพรและเครื่องเทศ ผลการศึกษาแสดงแนวทางให้เห็นว่าอาหารไทยเป็นอาหารที่มีศักยภาพสูงในการเป็นอาหารเพื่อสุขภาพจึงควรรณรงค์ให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องกับคนไทยให้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารไทยที่มีต่อสุขภาพขณะเดียวกันควรมีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบและรวบรวมตำรับอาหารไทยให้มีความเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นทั้งตำรับที่ควรที่อนุรักษ์ลักษณะดั้งเดิมของอาหารไทยและตำรับที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวัถุประสงค์ต่างๆ เพื่อผลทางสุขภาพ รวมทั้งการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทของอาหารไทยที่มีต่อสุขภาพ เพื่อเป็นแนวทางการสนับสนุนการบริโภคและส่งออกอาหารไทยสู่ตลาดโลก

หมายเหตุ บล็อกโดนลบ